เมื่อน้องหมาโตเข้าสู่วัยที่จะผสมพันธุ์


ธรรมชาติของสุนัขเมื่อเข้าวัยหนุ่ม-สาว โดยปกติแล้วสุนัขจะเริ่มเป็นหนุ่ม-สาว ได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไปแต่บางตัวก็อาจพบได้ตอนอายุ 4 เดือนก็มี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของร่างกาย แต่ก็ไม่ใช่ว่าสุนัขที่เป็นหนุ่ม-สาวช้าจะมีร่างกายไม่สมบูรณ์ สิ่งที่จะบอกได้ว่าพวกเขาเป็นหนุ่ม-สาวแล้ว ก็คือ ในสุนัขตัวเมีย จะเริ่มเห็นว่าอวัยวะเพศมีการขยายใหญ่ขึ้น ร่วมกับมีเลือดออกจากอวัยวะเพศ หรืออาการที่เรียกว่า “เป็นฮีท”
หรือ “เป็นสัด” ซึ่งสุนัขที่เข้าสู่วัยสาวจะแสดงอาการเป็นสัดโดยเฉลี่ยปีละ 1-2 ครั้ง ในแมวจะร้องเสียงดังที่เรียกว่า “หง่าว” กลิ้งตัวไปมาซึ่ง พบเป็นทุก 21 วัน ส่วนในสุนัขตัวผู้นั้น ถ้าจะดูจากลักษณะภายนอกอย่างเดียวคงบอกได้ยากเนื่องจากลูกอัณฑะ จะลงมาอยู่ในถุงหุ้มได้ตั้งแต่อายุเพียง 2-3 เดือนเท่านั้น แต่ถ้าอยากรู้ว่าเขาเป็นหนุ่มหรือยัง สามารถทำได้โดยการตรวจระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนร่วมกับการรีดเก็บน้ำเชื้อเพื่อนำไปตรวจคุณภาพ สุนัขที่เข้าวัยหนุ่มจะต้องพบตัวอสุจิที่มีชีวิต และเคลื่อนไหวเป็นปกติในระดับที่มาตรฐานยอมรับ
การคุมกำเนิด
เจ้าของหลายท่านที่ไม่ประสงค์จะให้สุนัขมีลูก สามารถใช้วิธีคุมกำเนิด โดยปัจจุบันการคุมกำเนิดแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลักคือ แบบชั่วคราวและแบบถาวร ซึ่งทั้ง 2 วิธี มีข้อดีและข้อเสีย


1. การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว
ข้อดี
คือ สามารถทำได้ง่ายด้วยเพียงการฉีดฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกาย ฮอร์โมนจะมีผลคุมกำเนิดนาน 4-6 เดือน แล้วจึงพากลับมาฉีดใหม่ ไม่เช่นนั้นสุนัขจะกลับมาเป็นสัดได้อีกเมื่อถึงกำหนดระยะเวลาที ่ฮอร์โมนหมดฤทธิ์ ดังนั้นหากเจ้าของท่านใดที่อยากได้ลูกหลานของเจ้าตัวโปรดมาไว้เ ชยชม แต่มีบางช่วงเวลาที่ยังไม่พร้อม ก็จะแนะนำให้ ใช้วิธีนี้ไปก่อน ผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้กับสุนัขและแมวมีความสำคัญเป็นอย่างมากและ ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ฮอร์โมนที่ทำขึ้นเพื่อใช้สำหรับสุนัขและแมวโดยเฉพาะ ได้แก่  Covinan โดยฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป สุนัขและแมวที่เพิ่งฉีดเป็นครั้งแรกจะต้องฉีด 3 เข็มโดยเข็มที่ 2 จะฉีดห่างจากเข็มแรก 3 เดือน และเข็มที่ 3 ฉีดห่างจากเข็มที่ 2 นาน 4 เดือนตามลำดับ จากนั้นจึงค่อยฉีดทุกๆ 5 เดือน ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์คุมกำเนิดของคน เพราะจะส่งผลข้างเคียงอย่างร้ายแรงและเกิดเป็นผลเสียตามมา
ข้อเสีย
คือ สุนัขสามารถเกิดภาวะการติดเชื้อที่มดลูกและอักเสบจนเป็นหนอง ได้ง่ายซึ่งพบเป็นจำนวนมาก ภาวะมดลูกอักเสบเป็นหนอง มีอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้หากไม่รีบทำการรักษาโดยการผ่าตั ดเพื่อเอามดลูกและรังไข่ออก


2. การคุมกำเนิดแบบถาวร หรือการทำหมัน
ข้อดี คือ เมื่อเจ้าตัวโปรดของเราที่มีอายุมากขึ้นก็มักจะมีโรคต่างๆ ตามมา รวมถึงภาวะต่างๆ ที่เกิดจากการทำงานของฮอร์โมน ไม่ว่าจะเป็น เนื้องอกเต้านม มะเร็งเต้านม มดลูกอักเสบเป็นหนองในตัวเมีย ส่วนในตัวผู้มักพบภาวะของต่อมลูกหมากโต มะเร็งต่อมลูกหมากและอัณฑะ โดยเฉพาะในรายที่เป็นทองแดง (ซึ่งลูกอัณฑะอยู่ผิดตำแหน่ง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น) และปัญหาต่อมลูกหมากโตมักเชื่อมโยงไปถึงปัญหาในระบบทางเดินปัสสาวะอื่นๆ ตามมา ยิ่งเจ้าตัวโปรดได้รับการทำหมันที่อายุน้อยเท่าใดก็จะยิ่งลดโอกาสการเกิดปัญหาเหล่านี้รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการวางยาลงได้มาก ขึ้นเท่านั้นนอกจากนี้การทำหมันยังช่วยลดพฤติกรรมที่ไม่ดีบางอย่างได้ เช่น การก้าวร้าวที่เกิดจากฮอร์โมน ได้อีกด้วย
ข้อเสีย คือ วิธีการทำยุ่งยากและใช้เวลานานกว่าอีกแบบ สุนัขและแมวที่จะทำหมันต้องได้รับการวางยาสลบขณะทำ ดังนั้นหากเขามีสภาพร่างกายที่ไม่พร้อมก็อาจส่งผลถึงแก่ชีวิต การทำหมันนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ได้ผลดีและแน่นอนที่สุด
สุนัขและแมวที่จะทำหมัน ต้องผ่านการตรวจสุขภาพทั่วไปและเจาะเลือดดูการทำงานโดยรวมของอวัยวะสำคัญ จากนั้นทำการนัดหมายวัน เพื่อเตรียมงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6-8 ชม.ก่อนวันผ่า ในแมวเพศเมียสามารถผ่าตัดทำหมันได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือนขึ้นไป สุนัขเพศผู้และเมียทำได้ตั้งแต่อายุ 5 เดือนขึ้นไป หลังผ่าตัดควรอยู่พักฟื้นที่โรงพยาบาลก่อนอย่างน้อย1-2วันแล้วจึงนัดดูแลแผลรวมถึงตัดไหมตามเวลาที่สัตวแพทย์กำหนด


การผสมพันธุ์-ตั้งท้อง และฝากครรภ์
เมื่อพวกเขาเข้าสู่วงรอบการเป็นสัด จะสังเกตุได้จากการที่มีเลือดออกจากอวัยวะเพศของตัวเมีย หลังจากนั้น 7-9 วันจะเป็นช่วงผสมพันธุ์ ซึ่งแบ่งได้เป็นการผสมแบบธรรมชาติและการผสมเทียม หากผสมติดก็จะเกิดการตั้งท้องซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 62-75 วันขึ้นกับการนับวันหลังผสม ในช่วงระหว่างนี้ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะสามารถเกิดการแท้งลูกได้ง่ายหากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกวิธ ี เมื่อทราบว่าสุนัขตั้งท้อง ควรพาเขามาพบสัตวแพทย์เพื่อวางแผนการดูแลและตรวจท้องเป็นระยะๆ โดยทั่วไปจะทำการอัลตร้าซาวด์ตรวจท้องได้ตั้งแต่อายุท้อง 3 สัปดาห์ขึ้นไป ทำให้เราทราบได้ว่าตัวอ่อนมีสุขภาพเป็นเช่นไร และยังพอกำหนวันดคลอดได้คร่าวๆด้วย และนอกจากนี้การเอกซ์เรย์สามารถบอกจำนวนและขนาดของลูกได้ซึ่งทำ ได้ตั้งแต่อายุท้อง 45 วันขึ้นไปเพื่อเตรียมความพร้อมในการคลอด
การผสมเทียม
วิธีนี้กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันสำหรับสุนัขที่มีปัญหามีลูกยาก และพบว่าให้ผลใกล้เคียงกับการผสมตามธรรมชาติ วิธีการจะมี 2 แบบคือแบบใช้น้ำเชื้อสดกับแบบที่ใช้น้ำเชื้อแช่แข็ง ซึ่งแบบหลังนี้กรรมวิธีและค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าวิธีแรกเพราะอาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อฉีดน้ำเชื้อเข้าไปที่มดลูกโดยตรง ในขณะที่อีกวิธีไม่ต้องวางยาผ่าตัดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ทั้ง 2 วิธี ต้องทำการเจาะเลือดเป็นระยะๆ เพื่อตรวจหาวันผสมที่เหมาะสม ผลที่ได้ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามมา
การผสมที่ไม่พึงประสงค์
หากสุนัขหรือแมวถูกผสมโดยไม่ได้ตั้งใจ เราสามารถป้องกันการเกิดการตั้งท้องได้ด้วยการฉีดฮอร์โมนจำเพาะต่อการป้องกันการท้องภายใน 24 ชม.โดยไม่เกิน 72 ชม.หลังถูกผสม การฉีดจะฉีด 3 ครั้ง วันเว้นวันเพื่อช่วยลดผลข้างเคียงที่อันตรายต่อสุนัข แต่ผลที่เกิดขึ้นคือสุนัขจะแสดงอาการเป็นสัดต่อไปอีก 1-2 เดือนเลยทีเดียว เมื่อถึงเวลานั้น เจ้าของต้องดูแลไม่ให้เขาถูกผสมซ้ำได้อีก แต่บางตัวก็อาจพบผลข้างเคียงรุนแรง เช่น ภาวะโลหิตจางจากการถูกกดไขกระดูก จากการใช้ฮอร์โมน แม้จะฉีดตามที่สัตวแพทย์วางแผนไว้แล้วก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตอบสนองเฉพาะตัวที่มีต่อฮอร์โมน ดังนั้นถ้าไม่จำเป็น ก็จะไม่แนะนำให้ฉีด




บทความพิเศษ เรื่องโดย… ทีมสัตวแพทย์ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ

การฉีดวัคซีนให้สุนัข

การฉีดวัคซีนสุนัข

ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด คือช่วงที่ลูกสุนัขมีระดับภูมิคุ้มกันจากแม่ลดต่ำลง จนระดับภูมิคุ้มกันเดิมในร่างกายไม่สามารถไปรบกวนการทำงานของวัคซีน

ภูมิคุ้มกันจากแม่จะป้องกันโรคได้เพียงประมาณ 6-8 สัปดาห์แรก หลังจากลูกสุนัขคลอดออกมาเท่านั้น หลังจากนั้นระดับภูมิคุ้มกันจะค่อยๆ ลดต่ำลง ซึ่งลูกสุนัขอาจได้รับเชื้อโรค และป่วยเป็นโรคได้ แต่ถ้าฉีดวัคซีนเร็วเกินไป ระดับภูมิคุ้มกันที่ยังมีอยู่ในลูกสุนัขจะต้านกับเชื้อในวัคซีนและไม่เกิดภูมิคุ้มกัน เราจึงควรให้ลูกสุนัขได้รับการฉีดวัคซีนเมื่ออายุประมาณ 2 เดือน (8 สัปดาห์)

โปรแกรมการฉีดวัคซีนในสุนัข

ลูกสุนัขอายุ 6 สัปดาห์ (สุนัขอายุ 1 เดือนครึ่ง)
ฉีดวัคซีนโรคไข้หัดสุนัขหรือลำไส้อักเสบติดต่อ
** ฉีดในกรณีที่มีความเสี่ยงสูง เช่น แม่สุนัขไม่เคยฉีดวัคซีน หรือมีการระบาดของโรค
** ทำการถ่ายพยาธิครั้งที่ 1

ลูกสุนัขอายุ 8 สัปดาห์ (สุนัขอายุ 2 เดือน)
ฉีดวัคซีนรวมโรคไข้หัดสุนัขเลปโตสไปโรซิส ตับ-อักเสบติดต่อและลำไส้อักเสบติดต่อ

ลูกสุนัขอายุ 10 สัปดาห์ (สุนัขอายุ 2 เดือนครึ่ง)
ฉีดวัคซีนรวมโรคไข้หัดสุนัขเลปโตสไปโรซิส ตับ-อักเสบติดต่อ
และลำไส้อักเสบติดต่อ

ลูกสุนัขอายุ 12 สัปดาห์ (สุนัขอายุ 3 เดือน)
ฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า
** ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงให้ทำก่อน 12 สัปดาห์แล้วทำซ้ำเมื่ออายุ 12 สัปดาห์
** ทำการถ่ายพยาธิครั้งที่ 2

ลูกสุนัขอายุ 16 สัปดาห์ (สุนัขอายุ 4 เดือน)
ฉีดวัคซีนโรคลำไส้อักเสบติดต่อ
** ทำการถ่ายพยาธิครั้งที่ 3

สุนัขอายุ 6 เดือน
ฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า