เมื่อสัตว์เลี้ยงของคุณกำลังเบื่ออาหาร

การเบื่ออาหาร หรือ Anorexia เป็นอาการที่พบได้ในสัตว์เลี้ยงของคุณไม่ว่าจะเป็นสุนัข  แมว  นก  หนูฯลฯ  โดยจะเริ่มมีความรู้สึกว่าร่างกายของพวกเขาไม่ปรกติ ซึ่งในเวลาเดียวกันนี้คุณๆ อาจจะสังเกตเห็นความผิดปรกติอื่นๆ หรือพบว่ามีพฤติกรรมอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมร่วมด้วย
       เช่น มีอาการหงอยเหงาเซื่องซึม  นอนนิ่งๆ กิจกรรมต่างๆ ลดลง  มีการแยกตัวออกจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่นสำหรับในกรณี ที่เลี้ยงรวมกันมากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไป อย่างนี้เป็นต้น

การเบื่ออาหารนั้นโดยทั่วไปแล้วหมายถึงการที่สัตว์สูญเสียความอยากอาหาร การปฏิเสธไม่ยอมกินอาหาร การขาดความกระตือรือล้นเมื่อเจ้าของให้อาหารแม้ว่าเป็นอาหารจานโปรดหรืออาหารสูตรปรุงพิเศษก็ตามที รวมทั้งการที่สัตว์ไม่สามารถกินอาหารได้ตามปรกติเนื่องมาจากเหตุผลใดก็ตามแต่
         เมื่อเปรียบเทียบกับความหิวแล้วความอยากอาหารจัดเป็นเรื่องของจิตใจในส่วนที่มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ ความรู้สึกและความทรงจำ  ขณะที่ความหิวเป็นเรื่องของความรู้สึกที่ถูกกระตุ้นโดยความต้องการของร่างกาย 

อาการเบื่ออาหารมิได้มีความจำเพาะเจาะจงต่อโรคใดโรคหนึ่ง หรือมิได้เป็นตัวบ่งชี้ที่จำเพาะต่อโรคใดโรคหนึ่งเป็นพิเศษซึ่งหมายความว่าหากคุณหมอบอกคุณว่า สัตว์เลี้ยงแสดงอาการเบื่ออาหารนั้นยังเป็นข้อมูลที่ไม่เพียงพอที่จะทำให้คุณหมอสามารถระบุลงไปได้ชัดเจนว่า สัตว์เลี้ยงของคุณนั้นป่วยเป็นโรคอะไร  การค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของความผิดปรกติที่นำมาสู่อาการเบื่ออาหารและการวินิจฉัยโรคให้ถูกเพื่อให้สัตว์เลี้ยงได้รับการรักษาที่เหมาะสมจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเพิ่มเติมอีกมาก 
        อาทิ ประวัติการเจ็บป่วย การทำวัคซีน วิธีการเลี้ยง การให้อาหาร  รวมไปถึงการตรวจร่างกายของสัตว์ เช่น การตรวจภายในช่องปาก ตรวจดูสภาพเหงือกและฟัน สังเกตจากกลิ่นปากและลมหายใจ  มีการคลำบริเวณหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบขนาดและรูปร่างของอวัยวะที่อยู่ภายในช่องท้อง
        การวัดอุณหภูมิร่างกายและการชั่งน้ำหนัก  รวมทั้งการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์ค่าต่างๆทางโลหิตวิทยาเพื่อวิเคราะห์ปริมาณเม็ดโลหิตแดงและเม็ดโลหิตขาว ความเข้มข้นของสารประกอบต่างๆ ในน้ำเลือด ฯลฯ   ยังอาจจะมีการตรวจวิเคราะห์องประกอบของน้ำปัสสาวะ

การตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิโดยใช้กล้องจุลทรรศน์  ตลอดจนการตรวจตัวอย่างอื่นๆ เพิ่มเติมจากห้องทดลองตามความเหมาะสม  มีการเอกซเรย์ช่องอกและช่องท้องดังนี้เป็นต้น 

สาเหตุของการเบื่ออาหาร มีอยู่มากมายหลายประการ  ส่วนใหญ่สัตว์จะแสดงอาการเบื่ออาหารเมื่อมีความผิดปรกติเกิดขึ้นกับระบบการทำงานของร่างกายระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบร่วมกัน
       ไม่ว่าเป็นระบบทางเดินอาหารที่เริ่มตั้งแต่ปาก  หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับและตับอ่อน  ระบบปัสสาวะ (ไต)  ในระบบไหลเวียนโลหิต (หัวใจ  เลือด)  หรือในระบบหายใจ (ปอด  หลอดลม)  หรือที่ผิวหนัง  สมอง  และอวัยวะอื่นๆ อีกมากมายของร่างกาย
        หรือแม้แต่ความเจ็บปวด เช่น ความเจ็บปวดจากบาดแผลต่างๆ ล้วนสามารถทำให้สัตว์สูญเสียความอยากอาหารได้เช่น กัน  และหากสัตว์เลี้ยงยังมีอาการเบื่ออาหารคงอยู่เป็นเวลานานเกินกว่า 24 ชั่วโมงก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของพวกเขาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับลูกสัตว์ ได้แก่ลูกสุนัขและแมวซึ่งมีอายุยังไม่ถึง 6 เดือนนั้นยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษถึงอันตราย ที่อาจเกิดตามมาได้ 

อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งบางโอกาสสัตว์เลี้ยงบางรายอาจมีการปฏิเสธอาหารโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากความผิดปรกติใดใดของร่างกายก็ได้ อาจเนื่องมาจากไม่ชอบรสชาติอาหารที่คุณๆ อาจจะเพิ่งเปลี่ยนชนิดให้ใหม่ หรืออาจเกิดขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น
       การย้ายที่อยู่ใหม่ การมีสัตว์เลี้ยงแปลกหน้ามาใหม่  การมีบุคคลแปลกหน้าย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ในบ้าน  หรือการที่สมาชิก
เก่าในบ้านไม่อยู่  ฯลฯ 

วิธีรักษาเบื้องต้น หลังจากทราบสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้สัตว์เลี้ยงเบื่ออาหารแล้วคุณหมอจึงสามารถวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพได้

ซึ่งการรักษาอาการเบื่ออาหารแบ่งได้เป็นสองวิธีคือ
           การรักษาแบบจำเพาะเจาะจง (Specific Treatment) หมายถึงให้การรักษาเพื่อชะลอ หรือกำจัดสาเหตุของความผิดปรกติให้หมดไปโดยตรง  เช่น  การให้ยาปฏิชีวนะกรณีที่สัตว์เลี้ยงมีการติดเชื้อแบคทีเรีย  การรักษาแผลในช่องปากหรือเหงือกอักเสบที่ทำให้เคี้ยวอาหารไม่สะดวก  การผ่าตัดเพื่อเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินอาหารกรณีที่เกิดการขัดขวางการส่งผ่านอาหารในหลอดอาหาร  กระเพาะอาหารหรือลำไส้ 
ส่วนอีกวิธีเป็นการรักษาตามอาการ (Supportive Treatment) หมายถึงการรักษาเพียงเพื่อบรรเทาอาการหรือความรุนแรงของความผิดปรกติที่สัตว์แสดงให้เห็น ในกรณีที่ไม่สามารถหรือยังไม่สามารถแก้ไขหรือกำจัดสาเหตุของความผิดปรกติได้โดยตรง เช่น การให้สารน้ำชนิดต่างๆทางเส้นเลือดหรือใต้ผิวหนังเพื่อทดแทนอาหาร  การให้ยากระตุ้นให้อยากอาหาร  เป็นต้น 

คุณควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อสัตว์เลี้ยงที่มีอาการเบื่ออาหาร 
         สิ่งแรกที่คุณๆ ควรกระทำก็คือ การสังเกตเพื่อบอกเล่าให้คุณหมอทราบ  โดยเริ่มจากการสังเกตดูซิว่าที่บ้านของคุณๆนั้นมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง เช่น  เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่  สัตว์เลี้ยงตัวใหม่ ผู้คนแปลกหน้าย้ายเข้ามาใหม่บ้างหรือไม่ 
         การเฝ้าระวังดูว่าสัตว์เลี้ยงมีอาการผิดปรกติอื่นๆ อีกหรือไม่  จากนั้นให้ช่วยสัตว์ต่อสู้กับภาวะขาดน้ำโดยการให้น้ำดื่มผสมเกลือแร่หรือน้ำตาล  รวมทั้งการใช้เทคนิคพิเศษช่วยเพื่อให้สัตว์เลี้ยงยินยอมกินอาหาร เช่น อุ่นอาหารเพื่อให้เกิดกลิ่นหอมนั้นช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร  การผสมอาหารที่เพิ่งปรุง
เสร็จใหม่ๆ เข้ากับอาหารสำเร็จรูป  การทำให้อาหารอ่อนนุ่มขึ้นโดยผสมน้ำเล็กน้อยในอาหารแห้งหรืออาหารเม็ด  การให้อาหารเหลวที่กลืนง่ายและมีกลิ่นหอมสำหรับสัตว์ อย่างเช่น  ไข่ลวก  น้ำแกงอุ่นๆ เป็นต้น  หรือการป้อนอาหารด้วยมือแทนการใช้ชามอาหาร  มีข้อควรระวังกรณีอุ่นอาหารก็คืออย่าอุ่นจนร้อนเกินไปหรืออย่าให้อาหารในขณะที่ยังร้อนจัดอยู่ และกรณีต้องการใช้อาหารปรุงเองสดๆ ใหม่ๆก็ควรปรึกษาคุณหมอก่อนว่ามีควรส่วนผสมใดบ้างและควรหลีกเลี่ยงสิ่งใดบ้าง 
        กรณีที่คุณหมอแนะนำให้เปลี่ยนอาหารมาเป็นอาหารเฉพาะโรค แล้วสุนัขและแมวของคุณไม่ยอมกิน คุณน่าจะลองผสมอาหารใหม่เข้ากับอาหารเก่าโดยเริ่มจากการผสมอาหารใหม่ในปริมาณน้อยๆ ก่อนแล้วจึงค่อยๆ เพิ่มสัดส่วนอาหารใหม่ให้มากขึ้นจนไม่ต้องผสมอาหารเก่าเลยในที่สุด 

กรณีที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษเห็นจะได้แก่การดูแลลูกสัตว์โดยเฉพาะลูกหมาและแมวที่อายุยังไม่ถึง 6 เดือน  หากพวกเขายังไม่หย่านม เจ้าของควรใช้กระบอกฉีดยาป้อนอาหารทดแทนนม (Milk Replacer) ซึ่งสามารขอจากคุณหมอหรือซื้อหาร้านจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง และการใช้น้ำนมโคพร้อมดื่มทดแทนนั้นต้องมีการปรับส่วนผสมเนื่องจากมีสารอาหารเข้มข้นต่ำกว่าน้ำนมธรรมชาติทั้งของสุนัขและแมว การให้น้ำแกงหรือน้ำซุปควรต้องระวังเรื่องความเค็มที่อาจสูงเกินไปแต่ในขณะเดียวกันความเข้มข้นของพลังงานกลับมีต่ำเกินไป  ส่วนการให้น้ำหวานหรือน้ำอัดลมชนิดต่างๆ อาจมีรสหวานเกินไปและมีปริมาณเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการไม่เพียงพอ 
          ดังนั้น อาหารที่ผลิตสำหรับเด็กอ่อนก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ 
ทางที่ดีคือควรปรึกษาคุณหมอก่อนว่า หากสัตว์เลี้ยงของคุณเบื่ออาหารนั้น คุณควรปฏิบัติอย่างไร
จึงเหมาะสมที่สุด เพราะอาการผิดปรกติของสัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดและแต่ละตัวก็ย่อมมีความแตกต่าง
กันออกไป 

สนุกกับการอาบน้ำให้หมา

ควรอาบน้ำให้สุนัข เมื่อสุนัขเริ่มสกปรก และมีกลิ่น บ้านเราเป็นเมืองร้อน การอาบน้ำอาจจะทำได้ถี่กว่าสุนัขที่อยู่ในเมืองหนาว อาจจะเดือนละครั้ง หรือ 2 เดือนครั้งก็ได้ ขึ้นกับสุนัขของคุณว่า มอมแมมง่ายแค่ไหน ควรอาบน้ำให้สุนัขตอนเช้าๆ ที่แดดไม่ร้อนจนเกินไป ขนจะได้แห้งง่าย หลีกเลี่ยงการอาบน้ำสุนัขตอนกลางคืน เพราะจะทำให้สุนัขเป็นหวัดได้ โดยเฉพาะสุนัขที่มีขนยาว ต่อไปนี้เป็นเทคนิคการอาบน้ำสุนัข

ถ้าสุนัขคุณเป็นสุนัขตัวเล็กๆ อาจให้อาบในกะละมัง (คล้ายกะละมังอาบน้ำเด็ก) แล้วใช้ขันใบเล็กๆ ตักน้ำราด แต่ถ้าเป็นสุนัขตัวใหญ่อาจผูกไว้กับหลัก (เช่น รั้วบ้าน) แล้วใช้สายยางรด ควรเริ่มราดน้ำจากด้านหลังสุนัข ด้านข้าง ขา ใต้ท้อง ก้น อย่าราดน้ำที่หัวของสุนัขโดยตรง เพราะสุนัขจะสะบัดน้ำทันที เมื่อหัวเปียกน้ำ ให้ค่อยๆ วักน้ำ ลูบที่หัว และหน้า และให้โอกาสมันสะบัดน้ำก่อน จะเทแชมพู

แชมพูที่ใช้ อาจใช้แชมพูสำหรับเด็ก หรือแชมพูสำหรับสุนัขก็ได้ การฟอกแชมพูควรเริ่มในลักษณะเดียวกับการราดน้ำ คือ เริ่มจากหลังก่อน ด้านข้าง แล้วย้ายมาที่ขา ใต้ท้อง ก้น หาง คอ และหน้า (ที่หน้าอาจฟอกเฉพาะบริเวณหัว บริเวณอื่นๆ ใช้น้ำลูบก็พอ)

ล้างแชมพูออก โดยเริ่มจากที่หลังก่อน แล้วไล่ไปเรื่อยๆ จบที่หน้า
เช็ดขนให้หมาดด้วยผ้าเช็ดตัว ถ้าสุนัขขนยาวอาจใช้ดรายเป่าผม เป่าให้ขนแห้ง สำหรับสุนัขที่ไม่คุ้นกับเสียงดรายเป่าผม ควรเริ่มเป่าจากด้านหน้าสุนัขก่อน เพื่อให้สุนัขทำความรู้จักกับดรายก่อน สุนัขจะได้ไม่ตกใจ เมื่อขนแห้งแล้ว ค่อยแปรงขนให้เรียบ (ขั้นตอนการแปรงขนต้องใจเย็นหน่อย ไม่งั้นสุนัขจะทำตาขวางใส่ ไม่ก็หนีสุดชีวิต ทำเอาเหนื่อยเชียวล่ะ) ถ้าเป็นสุนัขขนสั้น อาจมัดให้ตากแดดอ่อนๆ จนขนแห้ง ก็เป็นอันเสร็จ

การแปรงขน
การแปรงขนให้สุนัขเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นสุนัขพันธุ์ขนยาวหรือพันธุ์ขนสั้น เพื่อไม่ให้ขนเกาะติดกันเป็นสังกะตัง เพราะจะทำให้เป็นโรคผิวหนังอักเสบได้
สุนัขขนยาวควรทำการแปรงขน ให้อย่างน้อยวันละครั้ง ส่วนสุนัขขนสั้น ควรแปรงขนให้อย่างน้อย วันละครั้ง ส่วนสุนัขขนสั้นควรแปรงขนให้อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง การแปรงขนให้แปรงตามแนวเส้นขนและแปรงลึกลงไปถึงข้างในโคนขน เพื่อให้ขนฟูสวย

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรงขน คือหวีหรือแปรงซึ่งมีหลายชนิดด้วยกัน จึงต้องเลือกชนิดที่เหมาะสมกับขนของสุนัข เช่น หวีซี่ถี่ใช้กับสุนัขขนสั้น หวีซี่หยาบขนแข็งใช้กับสุนัขขนยาว สุนัขที่มีขนติดพันกันยุ่งควรใช้หวีซี่ห่าง ๆ

การตัดเล็บ
อันนี้ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษหน่อย ถ้าคุณไม่เคยตัดเล็บให้สุนัขมาก่อน อาจให้ช่างเสริมสวย (สุนัข) ตัดให้ดูก่อน แล้วค่อยลองตัดเอง การตัดเล็บให้สุนัข ควรใช้ที่ตัดเล็บสำหรับสุนัขโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้ที่ตัดเล็บของมนุษย์ เพราะโครงสร้าง เล็บของมนุษย์และสุนัขไม่เหมือนกัน การตัดควรตัดให้ห่างจากบริเวณเนื้อสีชมพู ใต้เล็บประมาณ 2 มิลลิเมตร ถ้าไม่แน่ใจอาจตัดให้ห่างกว่านี้ก็ได้

การตัดหาง
สุนัขบางตัวนิยมตัดหางให้เหลือความยาวตามที่นิยมในสุนัขพันธุ์นั้นๆ การตัดหางควรทำ เมื่อสุนัขอายุน้อย ๆ ประมาณ 3-7 วันหลังคลอดจะได้ไม่มีเลือดออกมาก การตัดหางทำโดยโกนขนบริเวณหางที่จะทำการตัดออกให้หมด เช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์หรือทิงเจอร์ไอโอดีนให้ทั่ว ดึงหางไปทางโคนหาง เพื่อให้หนังกลับมาหุ้มรอยตัดได้มิดชิด ทำการรัดด้วยเชือก หรือยางรัดตรงระหว่างข้อของกระดูกโคนหางในตำแหน่งที่ต้องการตัด จากนั้นแต้มด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ทิ้งไว้ประมาณ 2-5 ชั่วโมง แล้วเอาเชือกหรือยางรัดออก ผิวหนังของหางที่รูดขึ้นไปจะรูดลงมาปิดแผล หรือจะทำการเย็บก็ได้ เกณฑ์หารตัดหางสุนัขของอเมริกาได้กำหนดไว้ดังตารางข้างล่าง

พันธุ์ ความยางของหางที่เหลือเมื่ออายุไม่เกิน 7 วัน
โดเบอร์แมน 3/4 นิ้ว (2 ข้อกระดูกหาง)
ร็อตไวเลอร์ ชิดตัวมากที่สุด (1 ข้อกระดูกหาง)
บ๊อกเซอร์ 1/2 - 3/4 นิ้ว
พุดเดิล(มาตราฐาน) 1 ใน 2 -2ใน3 (ประมาณ 1เศษ 1/2 นิ้ว)
พุดเดิล (มินิเจอร์) 1 ใน 2 -2ใน3 (ประมาณ 1 1/8 นิ้ว)
พุดเดิล (ทอย) 1 ใน 2 -2 ใน 3 (ประมาณ 1 นิ้ว)
มินิเจอร์พินส์เชอร์ 1/2 นิ้ว ( 2 ข้อกระดูกหาง)
ยอร์คเชียร์เทอร์เรีย 1 ใน 3 (ประมาณ 1/2 นิ้ว)
ค็อกเกอร์ สแปเนียล 1 ใน 3 (ประมาณ 3/4 นิ้ว)
ไวเมอร์แรนเนอร์ 3 ใน 5 (ประมาณ 1เศษ 1/2 นิ้ว)
พอยต์เตอร์ 2 ใน 5

การตัดหู
สุนัขบางพันธุ์นิยมตัดหูตามแฟชั่นของพันธุ์นั้น ๆ เช่น โดเบอร์แมน บ๊อกเซอร์ มินิเจอร์พินส์เชอร์ และเกรตเดน ควรทำการตัดเมื่อสุนัขอายุระหว่าง 12-14 สัปดาห์ เพราะมีขนาดโตพอที่จะทำการผ่าตัดได้ง่าย ไม่เล็กเกินไป และสามารถทนต่อการวางยาสลบได้ หลังตากตัดหูแล้วต้องดามหูไว้ จนกว่าจะตั้งตรงตามต้องการซึ่งกินเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของสุนัขและการดูแลของเจ้าของ

การตัดนิ้วติ่ง
โดยปกติสุนัขจะมีนิ้วเท้าอยู่ 18 นิ้ว โดยขาคู่หน้าจะมี 10 นิ้ว ขาคู่หลังมี 8 นิ้ว นิ้วขาหน้าที่มีเกินกว่านิ้วขาหลังนี้เรียกว่านิ้วติ่ง จะอยู่สูงกว่าระดังพื้นดินขึ้นมาทางด้านหลังของขาหน้านิ้วติ่งของขาคู่หน้านี้ จัดเป็นลักษณะปกติ แต่ถ้าสุนัขตัวไหนมีนิ้วติ่งอยู่ที่ขาหลัง ถือว่าเป็นลักษณะที่ผิดปกติ จะทำการตัดออกเพื่อความสวยงามและความนิยม การตัดนิ้วติ่งจะทำเมื่อลูกสุนัขคลอดออกมาใหม่หรืออายุ 48-72 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 7 วัน เพื่อจะได้ทำง่าย ไม่มีเลือดออกมา และแผลหายเร็ว โดยใช้กรรไกรที่ฆ่าเชื้อแล้วตัดคีบนิ้วติ่งให้ใกล้ผิวหนังมากที่สุด แล้วแต้มด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน

การตัดแต่งขน
การตัดแต่งขนเป็นการเสริมสวยให้สุนัขตามแฟชั่น เพื่อความสะอาด และสวยงามอยู่เสมอสุนัขขนยาวทุกพันธุ์ ควรได้รับการตกแต่งขน เช่น พุดเดิล ค๊อกเกอร์ เทอร์เรีย เป็นต้น ผู้เลี้ยงสุนัขจำเป็นต้องตัดแต่งขนสุนัขให้ถูกต้องตามลักษณะนิยมด้วย และสุนัขบางพันธุ์ที่มีขนยาวมาก เมื่อนำมาเลี้ยงในประเทศไทยควรได้รับการซอยขนให้สั้น เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายจากความร้อนของอากาศ
คอยสังเกตอาการผิดปกติของสุนัข

การอาบน้ำ ตัดขน ตัดเล็บนี้ ถือเป็นการดูแลสุนัขเบื้องต้นที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอ นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ยังมีอีกหน้าที่หนึ่งที่เจ้าของสุนัขพึงกระทำ คือ การสังเกตดูสุนัขว่า มีอาการผิดปกติหรือไม่ ต่อไปนี้เป็นอาการผิดปกติเบื้องต้น ที่อาจหาทางป้องกันได้ ถ้ารู้แต่เนิ่นๆ แต่ถ้าทำตามคำแนะนำเหล่านี้แล้ว สุนัขไม่ดีขึ้น ควรรีบนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์
โรคเกี่ยวกับปาก
สุนัขของคุณอาจมีปัญหาเกี่ยวกับปาก ถ้าสุนัขมีอาการต่อไปนี้ น้ำลายไหล ตะกุยปากบ่อยๆ ทำท่าเคี้ยวอยู่ตลอดเวลา เคี้ยวอาหารช้าลง ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น

เพื่อหลีกเลี่ยงอาการผิดปกติเหล่านี้ คุณอาจต้องคอยเปิดปากสุนัขสำรวจหาสิ่งผิดปกติ และแปรงฟันให้สุนัขอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง โดยใช้แปรงสีฟันนุ่มๆ (แปรงสีฟันเก่าๆ ที่ไม่ใช้แล้วก็ได้) จุ่มน้ำเกลือแปรงให้กับสุนัข หรืออาจใช้ยาสีฟันสำหรับสุนัขโดยเฉพาะก็ได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันทาร์ทาร์ ซึ่งเป็นสารสีเหลืองๆ ที่มักเกาะอยู่บนฟันของสุนัข โดยมันจะเป็นตัวการทำให้เกิดโรคเหงือก ก่อให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียทำลายฟัน และยังทำให้ปากเหม็นอีกด้วย แต่ถ้าพบสิ่งผิดปกติติดฟันสุนัข ให้ใช้ด้ามช้อนเล็กๆ แซะออก หรือจะใช้คีมหนีบออกก็ได้

ถ้าสุนัขมีเหงือกบวมแดงบริเวณรอยต่อของเหงือกกับฟัน เมื่อเคาะฟันเบาๆ จะพบว่า ฟันเริ่มโยก แสดงว่า สุนัขเริ่มเป็นโรคเหงือกอักเสบ ให้ใช้น้ำเกลืออุ่นๆ ล้างปากให้สุนัขบ่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้นำไปพบสัตวแพทย์

ในกรณีที่สุนัขมีคราบทาร์ทาร์มากๆ อาจต้องพึ่งสัตวแพทย์ โดยแพทย์จะวางยาสลบให้สุนัข และใช้เครื่องมือกำจัดคราบออก ถอนฟันที่เสียแล้วทิ้ง เพื่อไม่ให้รากฟันอักเสบ และติดเชื้อในช่องปาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคไซนัส เลือดเป็นพิษ หรือแม้กระทั่งโรคไต !!

นอกจากนี้ อาการผิดปกติข้างต้น ยังอาจเกิดจากปากเป็นแผล มีหนอง เนื้องอก และทอนซิลอักเสบ ซึ่งในกรณีนี้ต้องให้สัตวแพทย์เป็นผู้วินิจฉัย และรักษา

โรคเกี่ยวกับตา
ถ้าสุนัขเอาเท้าเขี่ยตาบ่อยๆ ให้สังเกตตาสุนัขว่า มีน้ำตา ขี้ตา หรือมีแผ่นฟิล์มบางๆ เคลือบตา อยู่หรือไม่ ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย อาจใช้น้ำยาล้างตาของมนุษย์ล้างให้ทุก 2-3 ช.ม. หรืออาจใช้ยาฆ่าเชื้อแบบครีมป้ายใต้ตาก็ได้ ในการหยอดตาสุนัขเพื่อความปลอดภัย ควรถือที่หยอดตาให้ขนานกับตาสุนัข

ในสุนัขที่ยังอายุไม่มาก การเกิดขี้ตาเป็นจำนวนมาก อาจหมายถึงการติดเชื้อไวรัสที่ตา ส่วนการมีน้ำตาไหลในตาข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง อาจเกิดจากท่อน้ำตาอุดตัน ขณะที่ฟิล์มบางที่เคลือบตาอยู่ อาจเกิดจากการอักเสบของกระจกตา ถ้าหากหยอดตา 1 วันแล้ว อาการต่างๆ ยังไม่หายไป ควรนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์

โรคหวัด
ถ้าจมูกสุนัขคุณแห้ง แตก ไม่ชื้นเหมือนที่เคยเป็น และมีอาการอื่นที่คล้ายๆ คนเป็นหวัด แสดงว่า สุนัขอาจเป็นหวัด วิธีบรรเทาอาการขั้นต้น คือ อาบน้ำอุ่นๆ ให้กับสุนัข แล้วรีบเช็ดตัวให้แห้ง หลังจากนั้นให้ทาใต้จมูกด้วยขี้ผึ้งป้องกันหวัด ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรปรึกษาสัตวแพทย์

โรคหู
อาการผิดปกติเกี่ยวกับหู ที่สุนัขมักแสดงออก คือ การสั่นหัวไปมา การเกาหู ลมหายใจเหม็น มีขี้หูมากผิดปกติ การเอียงหัวไปข้างใดข้างหนึ่ง และการที่สุนัขแสดงอาการเจ็บ หรือไม่สบายเมื่อโดนสัมผัสหู

เมื่อพบอาการผิดปกติดังกล่าว ให้รีบใช้น้ำมันเกลือแร่กรอกใส่หูสุนัข ไม่ควรใช้ยาผงฆ่าเชื้อ เพราะจะไปหมักหมมในช่องหู อาจทำให้หูระคายเคืองยิ่งกว่าเดิม
ถ้าสุนัขของคุณมีแนวโน้มที่จะเกิดหูอักเสบ ควรทำความสะอาดหูให้สัปดาห์ละครั้ง โดยใช้คอตตอนบัดชุปน้ำมันมะกอก เช็ดภายในช่องหูที่คุณมองเห็นได้ เพื่อขจัดสิ่งสกปรกภายในช่องหู สำหรับสุนัขที่มีขนปุกปุยบริเวณใบหู เช่น พูเดิล หรือ เคอรี่ บลู อาจจำเป็นต้องถอนขนบริเวณใบหูออกบ้าง

การอักเสบของหูอาจเกิดจากมีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในช่องหู เช่น เมล็ดหญ้า ซึ่งจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้เอาออก บางครั้งอาจเกิดจากตัวไรเข้าไปอาศัยในช่องหู ทำให้เกิดอาการคัน และนำไปสู่การติดเชื้อในที่สุด นอกจากนี้ สำหรับสุนัขพันธ์ที่มี หูขนาดใหญ่ ทำให้ระบายอากาศไม่ดี เช่น สเปเนี่ยน การอักเสบของหูยังอาจเกิดจาก เหงื่อ ความสกปรก ที่หมักหมมในช่องหู ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้เร็วกว่าสุนัขทั่วๆ ไป ซึ่งอาการผิดปกติเหล่านี้ สัตวแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าเกิดจากเชื้ออะไร และให้ยาที่ถูกต้องกับโรค การรักษาแต่เนิ่นๆ จะทำให้โรคที่เป็นหายง่ายกว่า การปล่อยให้เป็นแบบเรื้อรัง ซึ่งยาอาจใช้ไม่ได้ผล และจำเป็นต้องพึ่งการผ่าตัด

เกี่ยวกับหน้าอก
ถ้าสุนัขไอ หายใจเร็ว และหอบ แสดงว่า สุนัขเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับช่องอก โดยอาจเป็นได้ทั้งโรคหลอดลมอักเสบ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ ปอดบวม หัวใจ และอื่นๆ ถ้าสุนัขมีอาการไอ จาม ร่วมกับการมีขี้ตา ท้องเสีย เซื่องซึม อาจเป็นอาการของโรคหัดสุนัข (Distemper) ซึ่งถ้าไม่รีบรักษา สุนัขอาจมีอาการแขนขากระตุก หรือเป็นอัมพาต เนื่องจากระบบประสาทถูกทำลาย โรคนี้รักษายาก และค่ายาแพง วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ฉีดวัคซีนป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ

เมื่อสุนัขมีอาการไม่สบายดังกล่าวมาแล้ว ให้รีบนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ และระหว่างนั้น ควรทำให้ร่างกายสุนัขอบอุ่นอยู่เสมอ ให้อาหารบำรุงอ่อนๆ อาจเป็นอาหารเหลว หรือน้ำหวานก็ได้ ถ้าสุนัขไม่ยอมกินอาหาร ให้ใช้ช้อนตักอาหารป้อน ทีละน้อย

เกี่ยวกับกระเพาะ และลำไส้
อาการที่แสดงให้เห็นว่า สุนัขเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะ และลำไส้ คือ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก ถ่ายออกมามีเลือดปน

อาการอาเจียนอาจเกิดจากอาหารเป็นพิษ ถ้านานๆ เป็นสักครั้ง ก็ถือว่า เป็นเรื่องธรรมดาของสุนัข แต่ถ้าเป็นบ่อยๆ ควรนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคต่างๆ เช่น หัดสุนัข ตับอักเสบ เลปโตสไปโรซิส ลำไส้อุดตัน หรือแม้แต่มีพยาธิตัวกลมมากเกินไป การปฐมพยาบาลเบื้องต้นถ้าสุนัขอาเจียน คือ งดอาหารหนัก เปลี่ยนเป็นกลูโคสและน้ำเกลือแร่ โดยให้ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยๆ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ควรนำไปพบสัตวแพทย์

ท้องเสียอาจเกิดจากอาหารเป็นพิษ หรือแพ้อาหารบางอย่าง เมื่อสุนัขท้องเสียควรงด อาหารหนัก นม และอาหารที่มีไขมันสูง เปลี่ยนเป็นกลูโคส หรือน้ำเกลือแร่แทน ควรทำให้ร่างกายสุนัขอบอุ่น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือสุนัขเริ่มซึม ต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์

อาการท้องผูกอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อสุนัขมีอายุมากขึ้น หรืออาจเกิดจากอาหารไดเอ็ท ที่ทำจากเศษกระดูก ทำให้เกิดการอุดตันในกระเพาะ การรักษาอาการสุนัขท้องผูก อาจเริ่มจากการให้น้ำมันเกลือแร่ 1-2 ช้อนโต๊ะ แต่ถ้าทราบแน่ๆ ว่า

การท้องผูกเกิดจาก เศษกระดูกอุดตันในท้อง อาจต้องใช้วิธีสวนทวาร ถ้าไม่อยากยุ่งยาก พาไปหาหมอ ง่ายที่สุดจ้า

ส่วนอาการถ่ายออกมามีมูกเลือดปน อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่สาเหตุเล็กๆ อย่างเศษกระดูกแหลมๆ ไปขีดข่วนแทงกระเพาะ หรือลำไส้ หรือแม้กระทั่งโรคเลปโตสไปโรซิส ซึ่งเป็นโรคติดต่อคล้ายดีซ่าน ติดต่อถึงคนได้ด้วย ถ้าสุนัขมีอาการแบบนี้ ถ้าเป็น 24 ช.ม. แล้วยังไม่หาย ทางที่ดีพาไปหาหมอดีที่สุด

ระบบปัสสาวะ
อาการเบื้องต้นของการมีปัญหาเกี่ยวกับระบบปัสสาวะ คือ การฉี่อย่างยากลำบาก สุนัขกินน้ำมาก ฉี่บ่อย หรือมีเลือดปนออกมากับฉี่ น้ำหนักลด และอยากอาหารมากผิดปกติ ถ้าพบสุนัขมีอาการเหล่านี้ ต้องรีบปรึกษาสัตวแพทย์สถานเดียว เพราะโรคกระเพาะปัสสาวะ อักเสบ นิ่ว หรือโรคไต ล้วนแต่เป็นโรคที่ต้องพึ่งแพทย์ และการรักษาแต่เนิ่นๆ จะทำได้ง่ายกว่า การปล่อยให้โรคร้ายเรื้อรัง

โรคผิวหนัง
ถ้าสุนัขแสดงอาการคันคะเยอ มีผื่นแดง ขนร่วงเป็นหย่อมๆ หรือเป็นแผลแดงแบบเรื้อรัง แสดงว่า สุนัขเริ่มเป็นโรคผิวหนัง โรคผิวหนังมักจะเกิดจากอาการแพ้ ให้ลองสังเกตว่า สุนัขมีเห็บ ไร หมัด หรือไม่ ถ้ามีก็จัดการกำจัดให้เรียบร้อย โดยอาจใช้วิธีดึงออก (ถ้าไม่มากนัก) หรือปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อหาวิธีกำจัดที่ปลอดภัย (สำหรับทั้งคน และสุนัข)

บางครั้งการให้สุนัขไดเอ็ทอาหารอาจเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังได้ เพราะสุนัขได้ สารอาหารไม่ครบ ทำให้ขนร่วง และมีสุขภาพไม่ดี ดังนั้น การจะให้สุนัขไดเอ็ทอาหาร จึงควรศึกษาความต้องการอาหารของสุนัขให้ถ้วนถี่ก่อน แล้วเลือกอาหารให้เหมาะกับสุนัข

อีกสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคผิวหนัง คือ อาการแพ้ อันนี้เจ้าของต้องหมั่นสังเกตว่า สุนัขแพ้อะไร เช่น ถ้าสุนัขมักจะเกิดอาการโรคผิวหนังในบางฤดู ก็ต้องสังเกตว่า ช่วงเวลานั้นๆ มีอะไรที่ผิดไปจากช่วงเวลาอื่นๆ ตัวอย่างเช่น สุนัขมักจะมีอาการคันในฤดูหนาว อาจเกิดจากละอองหญ้าที่ปลิวมากับลมหนาว เป็นต้น

โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์
สุนัขตัวผู้อาจเป็นโรคนี้บ้าง เช่น เนื้องอกที่ลูกอัณฑะ แต่พบไม่บ่อยนัก ที่เป็นกันมาก คือ สุนัขตัวเมีย ถ้าสุนัขมีการตกเลือด หรือมีสิ่งผิดปกติขับออกมาทางช่องคลอด เช่น เมือก หรือหนอง อาจเกิดจากการติดเชื้อในมดลูก ต้องรีบพาสุนัขไปพบแพทย์ทันที ปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายถึงตายได้ ถ้าสุนัขเป็นไม่มากนัก หมออาจให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อโรค แต่ถ้าเป็นมากๆ อาจต้องผ่ามดลูกทิ้งจ้า

ที่มา: http://www.thaipom.com/

หมาต้องการอะไร เรียนรู้ภาษาหมาได้ที่นี่

สุนัขสื่อสารกับเราอย่างไร
เจ้าปุกปุยนั้นไม่อาจพูดคุยกับเราได้ แต่เค้าก็มีท่าทางการส่งภาษาให้เรารู้และเข้าใจได้ดียิ่งกว่าการพูดจริงๆเสียอีก ยิ่งเราได้อยู่คุ้นเคยมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะยิ่งเข้าใจสิ่งที่เค้าต้องการบอกเรามากขึ้นเท่านั้น การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทางหรือการแกว่งหางอาจแปลความหมายได้หลายความหมายแล้วแต่สถานการณ์ ความฉลาดหรือการจดจำคำพูดของเรานั้นมีวิจัยออกมาแล้วว่าเทียบเท่ากับเด็กสองขวบเลยทีเดียว เราอาจจำต้องลองสังเกตุและเรียนรู้การสื่อสารในแบบหมาหมาบ้างไม่มากก็น้อยเพื่อที่จะได้ทราบถึงสิ่งที่เค้าอยากสื่อสารให้เราได้เข้าใจ
การแสดงออกโดยการเห่า
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤติกรรมของสุนัขแยกประเภทและความหมายของเสียงเห่าแต่ละชนิดไว้ดังนี้
  •  
    • เห่าติดต่อกันเป็นชุด ๆ 3-4 ครั้งโดยมีช่วงหยุดระหว่างชุด.......ความหมาย เป็นการเชิญชวนของสุนัขให้ มาดูอะไรที่น่าสนใจตรงนี้กันเถอะ
    • เห่าเร็ว ๆ ติดต่อกันด้วยโทนเสียงปานกลาง........ความหมาย การเตือนภัยของสุนัขว่า มีสิ่งไม่น่าไว้วางใจใกล้เข้ามา
    • เห่าด้วยเสียงต่ำ ๆ ติดต่อกันอย่างช้า ๆ ......ความหมาย กำลังมีภัยประชิดตัว
    • เห่าแล้วหยุด เห่าแล้วหยุด ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ..........ความหมาย สุนัขกำลังเหงา
    • เห่าสั้น ๆ ครั้งสองครั้ง.....ความหมาย การทักทายตามปกติของสุนัข
    • เห่าครั้งเดียวสั้น ๆ เมื่อคุณหรือสุนัขอีกตัวกำลังยุ่งอยู่กับเขา.............ความหมาย เขากำลังรำคาญและพยายามบอกคุณว่า หยุดซะทีเถอะ
    • ลูกสุนัขเห่าติดต่อกัน.........ความหมาย เป็นการเรียกร้องความสนใจ
    • เห่าครั้งเดียวสั้น ๆ เป็นการเรียกเจ้าของ...........ความหมาย เขาต้องการขับถ่ายหรือถึงเวลาให้อาหารแล้ว
    • เห่าติด ๆ กันรัวและดังขึ้นเรื่อย ๆ ..............ความหมาย บ่อบอกถึงความตื่นเต้นสนุกสนานกับอะไรบางอย่าง


ถึงจะพูดภาษาเดียวกันไม่ได้ แต่ก็สื่อใจถึงกันได้ ด้วยภาษากาย ภาษาสายตา มันขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการจะสื่อสารกับเขามากน้อยแค่ไหน ถ้าคุณพยายามทำความเข้าใจใจตัวเขา เรียนรู้เขา สักวันก็จะเป็นเหมือนบทเพลง สองกายหัวใจเดียว
 
การแสดงออกโดยสีหน้า
การแสดงออกโดยสีหน้าก็คล้ายกับคน เราค่อนข้างจะคุ้นเคยกับภาษาที่สื่อกันชนิดนี้กันอยู่แล้ว อาจแสดงออกทางสายตา การแยกเขี้ยว โดยการทำหูลีบไปข้างหลังก็จะแปลความหมายได้ตามสถานการณ์ในขณะนั้น
การแสดงออกทางหาง
หางเป็นสิ่งหนึ่งที่เจ้าปุกปุยใช้คุยกับเรา หมาที่หวาดกลัวจะหดหางลงใต้หว่างขาหรือลักษณะการแกว่งจะบ่งบอกถึงอารมณ์ขณะนั้น การแกว่งหางสูงเป็นวงกว้างและหยุดทำหางแข็งไว้จะบ่งบอกถึงอาการไม่แน่ใจซึ่งอาจจะเข้ามาหาอย่างเป็นมิตร หรืออาจเห่าหรือกัดได้จึงควรต้องระวัง
ลองมาดูกันดีกว่าว่าเค้ากำลังพูดอะไรกับคุณอยู่
  • ดีใจจังที่เจอเธอ
    เราคุ้นเคยกับอาการนี้เวลาที่เพิ่งเจอเค้าหลังกลับมาจากที่ทำงาน เริ่มต้นด้วยเสียงเห่าที่แหลมสูง อาจทำเสียงอี๊ดๆด้วย หางจะแกว่งในแนวระดับอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งพยายามเข้ามาหาเรา หูลีบไปข้างหลังเหมือนยิ้มให้ด้วยความยินดีปรีดา ทำหัวพยักขึ้นลงและอาจกระโดดใส่หรืองับมือด้วยความยินดีหากเราไม่ยอมนั่งลงทักทาย
  • มาเล่นกันหน่อยไหม
    มีท่าเฉพาะของเค้าเลยคือเอาขาหน้าและหน้าอกแนบพื้น ทำก้นโด่งๆเข้าไว้ และแกว่งหางไปมาอย่างดีใจ และอาจเอียงคอเอาขาข้างนึงเขี่ยพื้น ไม่มีใครอดทนไม่หยอกล้อกับท่าท่างเช่นนี้ได้
  • อยู่ห่างๆไว้
    จะเห่าเตือนด้วยโทนเสียงต่ำด้วยเสียงที่เคร่งเครียด หูตั้ง ขนหลังตั้งชัน ชูหางและยืนอย่างมั่นคงอยู่ในท่าเตรียมพร้อม
  • มีบางสิ่งผิดปรกติ ให้ไปไกลๆ
    นอกจากเห่าเตือนแล้ว อาจทำหน้านิ่วคิ้วขมวดด้วย และยังทำเสียงขู่ครางในลำคอ
  • ฉันกลัวก็จะก้มหน้าค่อมตัวลงต่ำหรือหมอบลงกับพื้นหรือหลบสายตา หัวตก หูและหางตก
  • ฉันเศร้าเสียใจมากเราเห็นการทำหน้าเศร้าทั้งหมดจากจากลูกตาที่เศร้าโศกเสียใจ ไม่มีก็อะไรที่บาดหัวใจไปกว่าสายตาที่ห่อเหี่ยวหดหู่ เจ้าปุกปุยที่แสนเศร้านี้ต้องการความสนใจและการกอดที่ยิ่งใหญ่จากคุณ!
  • ฉันรักเธอ
    นี่เป็นอาการที่ทุกๆคนใฝ่ฝันถึง คืออาการที่เคล้าเคลียไม่ยอมห่าง มองเราด้วยสายตาชื่นชม ทำหูตูบหน้ายิ้มให้เรา บางครั้งอาจจูบหรือเลียหน้าคุณพร้อมทั้งแกว่งหางไปมาด้วยความสุข
 
 
เครดิตงับ>>http://www.mylovegolden.com/mcontents/marticle.php?Ntype=1&id=69091

การฝึกสุนัขด้วยตัวเอง

สุนัขที่ไม่ได้รับการฝึกอาจกลายเป็นสุนัขก้าวร้าวและเป็นอันตรายกับเจ้าของได้ เจ้าของควรเริ่มฝึกสุนัขตั้งแต่ยังเล็กๆจะง่ายกว่า    โดยฝึกให้คุ้นเคยกับการรับคำสั่ง      การเดินโดยใช้สายจูง การเล่นเกม สุนัขที่ได้รับการฝึกตั้งแต่เล็กถ้าพฤติกรรมที่ไม่ดีตอนโตจะแก้ไขได้ง่ายกว่าสุนัขที่ไม่ได้รับการฝึกให้เชื่อฟังคำสั่ง

เมื่อไหร่ที่ควรเริ่มฝึก
คุณไม่ควรจริงจังกับการฝึกสุนัขมากนัก ถ้าสุนัขอายุยังไม่ถึง 7-8 เดือน นักจิตวิทยาสัตว์บางคนบอกว่า ลูกสุนัขบางตัวสามารถเริ่มฝึกได้เมื่ออายุตั้งแต่ 7 สัปดาห์ แล้วเทคนิคต่าง ๆ ค่อย ๆ สอนภายหลัง แต่ จริง ๆ แล้วเรื่องของเทคนิคต่าง ๆ ปล่อยให้นักฝึกสุนัขอาชีพเป็นผู้ฝึกดีกว่า ขณะที่ลูกสุนัขของคุณยังอยู่ในช่วงต้น ๆ ของความเป็นลูกสุนัข ตั้งใจเอาชนะใจมันให้ได้ มันจะรักและนับถือคุณ การฝึกพื้นฐานจะเริ่มได้เมื่ออายุ 3-4 เดือน ช่วงอายุนี้ควรฝึกให้เดินสวยขณะที่คุณจูง นั่ง นอน ตามคำสั่ง และเข้ามาหาคุณเวลาคุณเรียกมัน

คุณมีส่วนในการฝึก
คุณต้องมีความอดทนในการชี้แจงให้สุนัขเข้าใจว่าแต่ละคำที่คุณออกคำสั่งนั้นหมายถึงอะไร ทำมันด้วยมือหรือเชือกจูงสำหรับฝึกก่อน ทำให้มันแน่ใจในคำสั่งด้วยเสียงของคุณ สอนมันเป็นประจำทุกวันถึงสิ่งที่คุณต้องการจะให้มันรู้ ทบทวนคำสั่งพร้อมกับแสดงอาการประกอบ สาธิตให้มันดูซ้ำแล้วซ้ำอีก ให้สุนัขได้มีโอกาสรับรู้จดจำไว้
เมื่อมันเริ่มเรียนรู้ให้ใช้เพียงคำพูดเป็นคำสั่งโดยไม่ต้องออกท่าทาง จ้ำจี้จ้ำไชกับมันบ่อย ๆ เมื่อมันทำผิดก็แก้ไขมันมันถูก แรก ๆ ก็ใจดีกับมันก่อน แล้วค่อย ๆ เข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ ตามความก้าวหน้าของการฝึก อย่าหมดความอดทนหรือฉุนเฉียวเสียก่อน อย่าตีมันด้วยมือหรือเชือกจูงขณะที่ฝึก เพียงแค่คุณดุมันหรือว่ามันก็รู้สึกผิดมากพอแล้ว
เมื่อสุนัขทำในสิ่งที่คุณต้องการ ชมเชยมันพร้อมกับลูบหลังมันไปด้วย อย่าตบรางวัลสุนัขด้วยขนมหรือปฏิบัติกับมันดีเกินไปขณะฝึก สุนัขที่ชินกับนิสัยการรับรางวัลเช่นนี้จะไว้ใจไม่ค่อยได้ เพราะว่ามันจะไม่ค่อยยอมทำอะไรถ้าไม่ได้กลิ่นขนมหรือของรางวัล ถ้าหากฝ่าฝืนคำสั่งหรือทำอย่างไม่ค่อยเต็มใจ (เหลวไหล) คุณควรจะพูดกับมันดี ๆ ต่อไปมันจะดีขึ้นเรื่อย ๆ


เสียงที่ใช้ฝึก
เมื่อคุณฝึกสุนัขให้ใช้เสียงในการออกคำสั่งที่แข็งขันและชัดเจน ครั้งแรกคุณออกคำสั่งไปแล้วต้องยืนกรานคำสั่งเดิมไปจนกระทั่งมันเชื่อฟัง หรือแม้แต่จะฉุดมันให้มาฟังคุณก็ตามที มันต้องเรียนรู้ว่าการฝึกนั้นต่างจากการเล่น เมื่อใดที่มีการออกคำสั่งมันต้องเชื่อฟังไม่ว่าจะมีอะไรมาทำให้วอกแวกก็แล้วแต่ จงจำไว้ว่าน้ำเสียงและน้ำหนักเสียงของคุณ (ต้องไม่ดังลั่น) จะมีอิทธิพลต่อสุนัขเป็นส่วนใหญ่ ต้องพูดด้วยคำพูดที่เน้นหนักแน่น ในการใช้คำพูดระหว่างฝึกจำกัดคำสั่งของคุณให้ใช้คำเพียงแค่ 2-3 คำ ถ้าเป็นไปได้ก็อย่าเปลี่ยนคำสั่ง มันเป็นการดีที่สุดถ้าจะมีผู้ฝึกสุนัขเพียงคนเดียว คนอื่น ๆ อาจใช้คำสั่งแตกต่างกันออกไป วิธีฝึกก็ต่างไปซึ่งอาจทำให้สุนัขสับสนได้ สุนัขที่ได้ยินคำสั่งประเภท "มานี่" "มาหาหน่อย" "เร็ว ๆ เข้า" หรือคำสั่งทำนองนี้แต่มีความต้องการเดียวกันคือให้มันมาหา ถ้าคุณใช้คำสั่งมากมายขนาดนี้มันจะสับสนมาก ให้ใช้คำไหนคำนั้นดีที่สุด

บทเรียนที่ใช้ฝึก
การฝึกเป็นงานหนักทั้งสุนัขและผู้ฝึก สุนัขเล็ก ๆ ใช้เวลาฝึกในช่วงหนึ่งได้ไม่เกิน 10 นาที ก็จะไม่อยากฝึกต่อดังนั้นควรจำกัดอย่าให้บทเรียนบทแรกยาวเกินไปนัก แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มเวลาไปเป็นระยะจนกระทั่งถึง 30 นาที คุณเองก็อาจพบได้ว่าคุณก็เริ่มหมดความอดทนเหมือนกันเมื่อใกล้ ๆ จะหมดเวลาฝึก เมื่อคุณรู้สึกว่าคุณอารมณ์ไม่ดีให้หยุดฝึก ใช้เวลาที่เหลืออยู่ทบทวนบทเรียนเก่า ๆ ไปก่อน และก่อนหรือหลังบทเรียนควรมีช่วงเวลาพักเล่นด้วยไม่ใช่เล่นระหว่างเรียน แม้แต่สุนัขที่เด็กที่สุดก็จะเรียนรู้ได้เองว่าเวลาที่ต้องเรียนนั้นเป็นช่วงที่ต้องเคร่งครัดจริงจัง ส่วนความสนุกจะตามมาหลังจากนี้
อย่าใช้เวลาในการฝึกช่วงแรก ๆ มากนัก มิฉะนั้นสุนัขก็จะเบื่อ พยายามจบบทเรียนในช่วงที่ดี ๆ ถ้าหากสุนัขไม่ได้ทำในสิ่งที่คุณต้องการนั้นเป็นเพราะคุณไม่สามารถทำให้มันจดจำได้ดีพอ

เครื่องมือในการฝึก
1. เชือกที่ใช้จูงสุนัข ใช้เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า "ตัวนำ" ดังนั้นเราจะใช้คำนี้แทน ตัวนำ ที่ดีที่สุดสำหรับฝึกนั้นเป็นผ้าทอหรือสาน ยาว 6 ฟุต ส่วนใหญ่ใช้สีทึม ๆ มอ ๆ หรือจะใช้เป็นหนังขนาดเท่ากัน หรือจะใช้แบบเป็นสีสันก็มีใช้กันอยู่บ้าง แล้วแต่คุณจะเลือก
2. ต้องใช้ปลอกคอฝึกสุนัขควบคู่ไปด้วย ปลอกคอฝึกส่วนใหญ่ทำด้วยไนล่อนหรือ โซ่เหล็ก ซึ่งมีห่วงติดอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง แล้วใช้ตัวนำคล้องกับปลายห่วงทั้งสอง ใช้ผ่อนหรือดึงบังคับสุนัข แม้ว่าจะฟังดูน่าตกใจ แต่มันก็ไม่ได้ทำให้สุนัขของคุณต้องเจ็บแต่อย่างใด และมันก็จะต้องใช้ในการฝึกด้วย ควรฝึกวิธีการใช้ปลอกคอให้ถูก ปลอกคอฝึกควรจะใส่รอบคอสุนัข เพื่อคุณจะสามารถล่ามตัวนำกับห่วงตรงปลายปลอกคอ อย่าใส่ห่วงใต้คอ มันเป็นสิ่งสำคัญในการใส่ปลอกคอฝึกให้ถูก มันจะได้แน่นเวลาคุณดังตัวนำ และง่ายเวลาคุณผ่อนหรือไม่ได้รั้งตัวนำ
3. วิธีในการจับตัวนำก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะปลอกคอควรจะหย่อนอยู่ตลอดเวลา นอกจากเวลาดึง จับวงเชือกไว้ด้วยมือขวา ไขว้มือไปด้านข้าง ส่วนมือซ้ายจับตัวนำไว้ให้ใกล้ปลอกคอฝึกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนที่เหลือของตัวนำก็จะขมวดเป็นวงได้ (ที่คุณถือด้วยมือขวา) แนบแขนข้างนี้กับลำตัว การผ่อน ดึง หรือคลาย ทุกอย่างทำด้วยมือซ้าย ด้วยการกระตุก

การฝึกให้ตาม
"การตาม" เป็นศัพท์สำหรับสุนัขที่หมายความว่า ให้สุนัขเดินไปด้านข้างของคุณชิดกับขาคุณ มีตัวนำด้วยหรือไม่มีก็ได้ ถ้าคุณอดทนและพยายามพอ คุณสามารถฝึกสุนัขให้เดินเคียงข้างคุณได้ในถนนอันแออัด หรือผ่านสุนัขตัวอื่น ๆ ได้อย่างดี ถึงตอนนี้คุณก็ได้เรียนรู้ถึงวิธีการใส่ปลอกคอ การใช้ตัวนำแล้วคุณก็พร้อมที่จะเริ่มบทเรียนแรกในการฝึกการตาม ให้สุนัขนั่งอยู่ด้านซ้าย เรียกชื่อ และใช้คำสั่ง "ตาม" เริ่มก้าวเท้าซ้ายของคุณ ดึงตัวนำเล็กน้อย เพื่อให้สุนัขได้เริ่ม ต้องเรียกชื่อมันก่อนเสมอ แล้วตามด้วยคำสั่ง เช่น "แดงตาม" การเอ่ยชื่อจะช่วยให้มันสนใจมากขึ้น ทำให้มันได้รู้ว่าคุณกำลังออกคำสั่งให้มัน (แดง คือชื่อสมมุติของสุนัขในที่นี้)
ให้เดินอย่างกระฉับกระเฉงแต่ละก้าว เดินวนเป็นวงกลมใหญ่ หรือเดินไปเป็นสี่เหลี่ยม หรือเส้นตรงก็ได้ ขณะที่เดินแน่ใจว่าสุนัขของคุณอยู่ข้างซ้ายและชิดขาของคุณเสมอ ถ้ามันเดินล้าหลังคุณให้กระตุกตัวนำเบา ๆ ให้มันเดินให้ทันคุณ แล้วก็ชมมันว่าดีแล้วที่ทำอย่างนี้ ถ้ามันเดินนำหน้าคุณหรือออกห่างไป ให้คุณหยุดพร้อมกับกระตุกตัวนำอย่างแรง ดึงมันกลับมาอยู่ตรงที่ที่ถูก ควรชมมันทุกครั้งที่มันเดินถูกที่ถูกทาง ทันทีที่คุณกระตุกตัวนำเพื่อให้สุนัขคุณอยู่ถูกที่ก็ให้ผ่อนสายตัวนำไปด้วย อย่างลากสุนัขหรือดึงตัวนำเพราะจะเกิดการดึงกันไปดังกันมา ซึ่งไม่เป็นผลดีเลย
เพื่อให้สุนัขตั้งอกตั้งใจฝึก ต้องพูดกับมันขณะที่คุณให้มันกลับมาถูกที่คุณควรจะฝึกการเดินหันหลังกลับด้วยการกระตุกตัวนำเบา ๆ ขณะที่คุณหมุนตัวด้วย มันจะเรียนรู้ไปทีละนิดละหน่อยว่ามันต้องตั้งอกตั้งใจ หรือจะถูกกระตุกให้กลับมาอยู่ข้างตัวคุณ และคุณสามารถเปลี่ยนวิธีการไปได้เรื่อย ๆ โดยการเปลี่ยนความเร็วบ้าง หันหลังกลับ เดินตรง หรือว่าเดินซิกแซกข้ามสนามที่ใช้ฝึก เป็นต้น
"ตาม" หมายถึง "นั่ง" ด้วย สำหรับสุนัขแล้วคำสั่งว่า "ตาม" จะหมายถึงมันต้องนั่งอยู่ข้างซ้ายของคุณด้วย เมื่อคุณหยุดโดยไม่มีคำสั่งอะไรเพิ่มขณะที่คุณฝึกให้ตาม ทำให้มันนั่งเมื่อคุณหยุด ครั้งแรกใช้คำสั่งว่า "นั่ง" แต่ต่อไปไม่ต้องออกคำสั่งอีก มันจะนึกรู้และจะนั่งได้เองเมื่อคุณหยุด และจะคอยคำสั่ง "ตาม" ใหม่ เพื่อจะลุกเดินอีกครั้ง

การฝึกให้นั่ง
การฝึกสุนัขให้นั่งค่อนข้างง่าย โดยให้มันยืนอยู่ข้างซ้ายมือ ให้ถือตัวนำสั้น ๆ แล้วออกคำสั่งว่า "นั่ง" ขณะออกคำสั่งให้ดึงตัวนำขึ้นพร้อมกับกดช่วงหลังของสุนัขลง แต่อย่าให้มันลงไปหมอบหรือยืนขึ้น ถ้ามันลงหมอบให้กระตุกตัวนำขึ้นจนกระทั่งมันลุกขึ้นแล้วนั่ง ถ้าหากมันทำตามคำสั่งช้า ๆ ให้ดังมันอย่างแรงจนกระทั่งมันทำตามความต้องการของเรา ให้มันอยู่ในท่านั่งสักชั่วขณะหนึ่ง แล้วค่อยผ่อนความตึงของตัวนำพร้อมกับชมมันด้วย ทวนคำสั่งอย่างหนักแน่นในขณะที่คุณจูงมันในท่านั่ง ย้ำเพื่อให้มันจำคำสั่งได้ขึ้นใจ ถ้าหากมันเคลื่อนที่ละก้อให้ทวนคำสั่งอีกครั้งแล้วให้มันนั่งลง หลังจากนี้มันก็จะนึกรู้และนั่งลงไปเองโดยไม่ต้องกดหลังมันอีก เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วแสดงว่ามันจะนั่งเองได้ ชมเชยมันบ่อย ๆ ให้รางวัลโดยการกระทำกับมันอย่างอ่อนโยน และชมเชยมันบ่อย ๆ ด้วยคำพูดที่นุ่มนวล

การฝึกให้หมอบลงหรือหมอบ
จุดประสงค์ขั้นตอนนี้คือ ทำให้สุนัขหมอบลงกับคำสั่ง "หมอบ" หรือเมื่อออกคำสั่งด้วยมือ ให้คุณยกมือมาข้างหน้าพลิกโบกฝ่ามือลง อย่างไรก็ตาม คุณต้องทำไปจนกว่าสุนัขจะเข้าใจความหมายของคำสั่งและจะทำเองได้โดยไม่มีปฏิกิริยากึ่งบังคับจากคุณ สัญญาณมือควรจะทำควบคู่ไปกับการออกคำสั่ง คำสั่งนี้อาจจะยากไปหน่อยในช่วงแรก เพราะมันรู้สึกเหมือนคุณยกมือเพื่อจะทำร้ายมันและมันป้องกันตัวเองไม่ได้ อาจจะวิ่งเตลิดไปก็ได้ ให้เอาใจมันด้วยคำชมหรือทำกับมันดี ๆ เมื่อมันทำตามคำสั่งแล้วมันจะเรียนรู้ไปเองว่าไม่มีอะไรที่เลวร้ายเกิดขึ้น ในทางกลับกันมันจะรู้จักคำสั่งว่า "หมอบ" แล้วถ้ามันทำตามนายจะพอใจ
อย่าเริ่มฝึกสุนัขหมอบลงจนกระทั่งมันเข้าใจคำสั่งนั่งได้เป็นอย่างดีเสียก่อน ให้สุนัขอยู่ในท่านั่งและคุณคุกเข่าอยู่ตรงหน้า ยกขาหน้าของมันด้วยมือแต่ละข้างของคุณ จับตรงเหนือข้อศอก ยกขามันขึ้นแล้วดึงลงมาที่พื้นข้างหน้า ในขณะเดียวกันก็ออกคำสั่งว่า "หมอบ" แล้วดึงขาหน้ามันลงมาติดพื้น
ดึงมันลงมาที่พื้นและทำให้มันรู้ว่าท่านี้เป็นท่าที่ต้องการให้มันทำ วิธีนี้ดีกว่าจะไปบังคับให้มันทำ มิฉะนั้นจะทำให้มันรู้สึกตกใจและเริ่มจะไม่ชอบการฝึกใด ๆ เลย หมั่นพูดคุยกันมัน บอกมันให้รู้ว่าคุณดีใจ พอใจ เวลาที่มันทำตามคำสั่ง แล้วคุณจะพบว่าคุณมีความสุขกับการฝึกสุนัข
หลังจากที่มันเริ่มเรียนรู้ เลื่อนตัวนำไปอยู่ใต้เท้าซ้ายและออกคำสั่ง "หมอบ" ในขณะเดียวกันดึงตัวนำด้วยจะช่วยให้สุนัขหมอบลง ช่วงนี้ยกมือคุณแล้วโบกลงให้สัญญาณมืออีกครั้ง อย่าหวังว่ามันจะสามารถทำได้ด้วยคำสั่งเพียงครั้งเดียว จงอดทนฝึกกับมันไปเรื่อย ๆ มันก็จะร่วมมือด้วย ถ้าคุณแสดงให้มันเห็นว่าอะไรบ้างที่คุณอยากให้มันทำ
การฝึกให้อยู่นิ่ง ๆ
ขั้นต่อไปคือการฝึกสุนัขให้อยู่นิ่ง ๆ ในท่านั่งหรือหมอบ เหมือนกับครั้งก่อนโดยใช้ตัวนำสอนคำสั่งนี้ จนกระทั่งสุนัขของคุณตอบรับคำสั่งด้วยการทำตามคำสั่ง แล้วจึงเอาตัวนำออก การฝึกเริ่มด้วยการนั่งนิ่ง ๆ จัดให้สุนัขอยู่ในท่านั่งข้างคุณในท่านั่งแนบขาโดยอัตโนมัติ ถือเชือกในมือข้างหนึ่ง (ส่วนใหญ่ผู้ฝึกชอบถือมือซ้าย) ก้าวไปข้างหน้าแล้วหันหน้ามาหามัน ยื่นมือออกไป นิ้วชี้ไปที่ช่วงจมูกของมันแล้วสั่งว่า "อยู่นิ่ง" ถ้ามันทำท่าจะเดินตามคุณเนื่องจากเป็นธรรมชาติของมันที่จะทำ เพราะมันอยู่ในท่าที่จะตาม ให้กระตุกตัวนำ เพื่อให้มันกลับมานั่งก่อน ยกมือมาไว้ข้างหน้ามันแล้วทวนคำสั่งอย่างหนักแน่นอีกรั้ง ให้มันอยู่ในท่านั่งนั้นสัก 2-3 วินาที ก่อนจะให้ลงมือปฏิบัติการอย่างอื่น แต่ละครั้งที่มันทำสำเร็จคุณต้องกล่าวชมมันเรื่อย ๆ แสดงให้มันเห็นว่าคุณพอใจกับมันด้วย
ทวนวิธีนี้อีกครั้งจนกระทั่งสุนัขของคุณทำเหมือนกับว่ามันเข้าใจว่าคุณจะให้มันทำอะไร เมื่อมันได้เรียนรู้ตลอดกระบวนการแล้ว เดินออกมาทางขวาของสุนัขอ้อมไปข้างหลัง ก้าวอีก 2 ก้าวไปข้างหน้า อีกสัก 2-3 ก้าวไปด้านข้าง ทำไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งคุณไปจนสุดสายเชือก ครั้งใดที่สุนัขจะออกตามคุณ สะบัดเชือกยื่นแขนออกโบกมือลงแล้วออกคำสั่งอย่างเฉียบขาด เมื่อมันแสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่อยู่ในท่าที่ถูกต้อง ขณะที่คุณเดินออกไปสุดเชือกนั่นหมายถึงคุณพร้อมที่จะฝึกมันต่อไปอีก ให้อยู่ในท่าเดิมโดยใช้เชือกยาวกว่าเดิม (ราว ๆ 25-30 ฟุต) แล้วท้ายสุดให้ฝึกโดยการเอาเชือกออก
ครั้งแรก ๆ ที่เรียนรู้การนั่งนิ่ง ๆ คุณสามารถจะสอน "หมอบนิ่ง ๆ" โดยเริ่มคำสั่งด้วยคำว่า "หมอบ" ก่อน แล้วฝึกโดยใช้วิธีเดียวกับฝึกนั่งนิ่ง ๆ

การฝึกให้คำสั่ง "มานี่"
คุณสามารถฝึกสุนัขให้มาหาคุณเมื่อคุณเรียกได้ ถ้าเริ่มต้นกับมันตั้งแต่มันเด็ก ๆ แรกเริ่ม ฝึกสอนล่ามตัวนำอยู่ในสุนัขนั่ง แล้วย้อนเชือกกลับมาพร้อมเรียกชื่อมัน ให้เรียกด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดึงตัวนำนิดหน่อยเพื่อให้มันเริ่ม เมื่อมันเดินมาให้ส่งเสียงชมมันดัง ๆ หรืออาจใช้อีกวิธีโดยการให้ขนมสำหรับสุนัขหรือผลไม้เป็นรางวัล มันจะนึกรู้ทันที คุณอาจจะเดินออกมาจนสุดตัวนำแล้วเรียกมัน เช่น "แดงมานี่" วิ่งไปสองสามก้าวแล้ว, หยุดให้มันมาอยู่ตรงหน้า (แดงคือชื่อของมัน)
ไม่ต้องอยากฝึกคำสั่งนี้โดยไม่มีตัวนำ เพราะแรก ๆ มันอาจจะคิดว่ามันไม่ต้องเชื่อฟังคำสั่งคุณอีกแล้วก็ได้ และมันก็จะวิ่งหนีไป โปรแกรมการฝึกของคุณก็ต้องล้มเหลว ระลึกไว้ว่าชีวิตสุนัของคุณนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับการสนองตอบต่อคำสั่งให้มาหาโดยทันทีเมื่อถูกเรียก ถ้ามันไม่เชื่อฟังเวลาไม่ได้ล่ามไว้ ให้ล่ามมันอีก แล้วแก้ไขให้กลับมาเชื่อฟังโดยการใช้ตัวนำ
การฝึกให้มานี่ เพื่อจะตามมา
หัวเรื่องนี้ คือสำหรับคุณเมื่อยืนอยู่ สั่งว่า "ตามมา" สุนัขของคุณเดินตามอ้อมทางขวาแล้วนั่งอยู่ข้างเข่าซ้ายของคุณในท่านั่ง ถ้าหากสุนัขของคุณไม่ได้ถูกฝึกให้นั่งโดยไม่มีคำสั่งทุก ๆ ครั้งที่คุณหยุด มันก็ผ่านสำหรับขั้นนี้ให้มันนั่งอยู่หน้าคุณ มองหน้ามันแล้วถอยหลังไปหนึ่งก้าว เคลื่อนเฉพาะเท้าซ้าย ดึงสุนัขมาอยู่ด้านหลังคุณและก้าวตรงไปรวมทั้งดึงมันไปรอบ ๆ จนกระทั่งมันอยู่ในท่าตาม คุณอาจทำให้สุนัขเดินไปรอบ ๆ ได้โดยอ้อมตัวนำไปข้างหลัง ใช้ส้นเท้าซ้ายดันมันออกถ้ามันเริ่มจะนั่งหรือค้อมตัวลง การฝึกนี้อาจต้องได้เหงื่อนิดหน่อย แต่มันจะเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ ถ้าทำให้มันรู้ว่าคุณอยากให้มันทำอะไร

การฝึกให้ยืน
สุนัขของคุณควรจะถูกฝึกให้ยืนในจุดเดียวโดยไม่มีการเคลื่อนไหว ยอมให้คนแปลกหน้าโบกมือไปมาอยู่เหนือใบหน้าและหัว หรือปัดไปมาแถวขาโดยไม่มีความกลัวหรือแสดงออกใด ๆ ทั้งสิ้น ใช้วิธีเดียวกับคุณที่เคยฝึกมันให้นั่งหรือหมอบขณะเดิน ยื่นมือซ้ายออกไป โบกอยู่ตรงแถว ๆ จมูก พร้อมกับออกคำสั่งให้มันอยู่นิ่ง ๆ ครั้งแรกมันจะคิดว่าคุณให้มันนั่ง แต่คุณต้องหยุดมันด้วยการเอามือสอดไปใต้ลำตัวมันใกล้กับช่วงท้องและจับไว้ จนกระทั่งมันนึกรู้ว่านี่ต่างจากการออกคำสั่งให้นั่ง ชมมันอีกเวลามันยืนเฉย ๆ แล้วคุณก็เดินไปจนสุดสายตัวนำ รีบแก้ไขอย่างรวดเร็วถ้าหากมันทำท่าจะเคลื่อนไหว โดยให้คนแปลกหน้าเข้ามา ใกล้ ๆ มัน แล้วก็โบกมือไปมาเหนือหลังหรือแถว ๆ ขา ให้มันยืนนิ่ง ๆ จนกระทั่งคุณกลับมาหามัน นี่เป็นการฝึกและออกกำลังที่มีค่าถ้าหากคุณมีแผนที่จะโชว์สุนัขของคุณ มันจะต้องเรียนรู้ที่จะยืนท่าโชว์ และลองให้กรรมการตัดสิน กรรมการก็จะโบกมือไปมาบนหลังและแถวขามัน ก็จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้สุนัขยืนอย่างสุขุมและมั่นคง

การฝึกนิสัยและสังเกตพฤติกรรมสุนัข
          สุนัขเป็นสัตว์ที่สามารถสื่อสารกับมนุษย์หรือสุนัขอื่นๆ ผ่านการแสดงอากัปกิริยาต่างๆ นั่นรวมไปถึง การแสดงสีหน้าหลายๆแบบ การทำท่าหลายๆ อย่าง เช่นการส่งเสียง หรือวิธีการดมกลิ่นรับรู้ภาษามนุษย์ได้ สามารถฝึกสุนัขให้สื่อสารกับมนุษย์ได้ ช่วยงานมนุษย์ในด้านต่างๆมากมาย เช่น สุนัขตำรวจ สุนัขทหาร สุนัขนำทางคนตาบอด เป็นต้น

การแสดงความเป็นใหญ่มีพละกำลังมากกว่าเหนือคู่ต่อสู้                     
          สุนัขจะยืนตัวตรงคอตั้ง ขาเหยียดตรง หางและหูตั้งขึ้น ทำอกตั้ง ขนรอบคอชูชัน และเป็นแนวยาวตลอดสันหลัง โบกหางไปมาอย่างช้าๆ พร้อมขู่คำราม ในทางกลับกันสุนัขตัวที่กำลังยอมแพ้ (หรือยอมจำนนต่อตัวที่เก่งกว่า) จะแสดงท่าว่า ข้านี้ตัวกระจ้อยร่อย หมดน้ำยาเหมือนลูกสุนัขตัวเล็กๆ และอาจจะนอนหงายท้อง หูรี่ ไม่สู้แต่อย่างไร พอถึงตรงนี้ต้องขออธิบายกันก่อนว่า สุนัขตัวโตมักจะสั่งสอนหรือดุลูกสุนัขตัวเล็กๆ แต่เขาจะไม่ทำร้ายเจ้าตัวน้อยอย่างแน่นอน

การแสดงการยอมแพ้
              สุนัขตัวที่ยอมแพ้ว่าอีกตัวนั้นเก่งกว่าหรือเหนือกว่า หรือยอมรับและเกรงกลัวคนผู้เป็นเจ้าของ จะแสดงอาการยำเกรง ด้วยการเข้าไปหาสุนัขตัวที่เหนือกว่าหรือเจ้าของ ทางด้านข้าง โดยหมอบคลานเตี้ยติดพื้น หางตกแต่แกว่งไปมา นอกจากนี้ คุณยังจะพบอีกว่าเค้าจะชอบเลียมือเลียไม้ เลียเท้าหรืออาจเลยไปถึงหน้า ของผู้เป็นเจ้าของ หรือสุนัขตัวที่เหนือกว่า ถ้ามันทำได้ แต่ถ้าเขายังเห็นว่าที่แสดงออกมานี้ยังแสดงอาการเอาใจได้ไม่มากพอ พวกเค้าอาจจะเพิ่มอาการให้มากขึ้นไปอีก โดยลงไป กลิ้งหงายท้อง ซึ่งบางตัวอาจจะมีฉี่ออกมาด้วย

การแสดงความดีใจหรือเป็นมิตร
              สุนัขจะกะดิกหาง หรือแกว่งหาง อย่างแรงจนก้นสบัดเป็นการแสดงอาการยินดีและความเป็นมิตร และลูกฝูงก็จะทำอากับกริยาดีใจเช่นนี้เหมือนกันต่อฝูง

การแสดงอาการโกรธ
              สุนัขที่แสดงว่ากำลังโกรธ จะขู่คำราม แยกเขี้ยว  หางที่โบกอย่างช้าๆเกร็งๆ อยู่ในระดับเดียวกับ หลังของสุนัข



การแสดงอาการกลัว
              สุนัขที่แสดงอาการกลัว มีความกังวลใจ กลุ้มใจ จะทำส่วนหางที่ห้อยตกอยู่ระหว่างก้นของสุนัข หรือแกว่งอย่างเกร็งๆตกอยู่ระหว่างก้น

สุนัขที่ทำหูตั้ง
              สุนัขที่กำลังทำหูตั้ง ตัวตรง แสดงว่ากำลังอยู่ในอาการที่เตรียมพร้อม ที่จะทำอะไร บางอย่าง หรือฟังเสียงอย่างตั้งอกตั้งใจอย่างเฝ้าระวังตลอดเวลา

สุนัขที่ทำหูลู่หรือตก
              สุนัขที่กำลังทำหูลู่หรือตกไปข้างหลังเสมอกับแนวศรีษะ ก็จะบ่งบอกถึงว่า สุนัขกำลังดีใจ ยอมแพ้ หรือกลัว

สุนัขที่ทำตาหรี่
              สุนัขที่กำลังทำตาหรี่แปลความหมายได้สองอย่าง คือถ้าไม่ได้กำลังมีความสุข ก็แสดงว่ากำลังยอมแพ้

สุนัขที่ทำตาเบิกกว้างและลุกโพลง
               สุนัขที่ทำตาโตเบิกกว้างและลุกโพลงแสดงว่าสุนัขกำลังจะแสดงอาการก้าวร้าวหรือกำลังเริ่มโมโห เหมือนอย่างเช่นในฝูงสัตว์ป่า หัวหน้าฝูงแสดงอาการเช่นนี้เพื่อควบคุมและดูแลบรรดาลูกฝูงที่ไม่เชื่อฟัง โดยการจ้อง ทั้งสอง ฝ่ายจะจ้องตากันจนกว่าจะมีฝ่ายใดเข้าท้าทายหรือมีฝ่ายใดก้มหัว ฝ่ายที่ยอมแพ้ก็จะลดหัวของตนให้ก้มต่ำลงแล้วหันกลับออกไป อย่างไรก็ดี หากการประจันหน้าของสุนัขที่เหนือกว่าและตัวที่ด้อยกว่ายังคงดำเนินอยู่ต่อไป แม้ว่าสุนัขตัวที่ด้อยกว่าจะหลีกทาง ไปแล้ว สุนัขที่ด้อยกว่านั้นอาจจะรู้สึกสับสนและแว้งกัดออกไปเพื่อเอาชนะความกลัวก็ได้ และหากการทำสงครามทางสายตานี้ ไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด สุนัขตัวที่เหนือกว่าก็จะเข้าคุกคามและสั่งสอนอีกตัวด้วยการแยกเขี้ยวคำราม ขู่ หรือตรงเข้ากัดทันที

การจ้องตาสุนัข              
                 สุนัขที่จ้องตากับสุนัข หรือสุนัขกับคน มีสองอย่างคือจ้องตากันแบบแสดงความรักความอบอุ่นต่อกัน หรือจ้องตาท้าทายเพื่อการต่อสู้ที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมแพ้  คุณไม่ควรจ้องตากับสุนัขที่กำลังหงุดหงิดหรือโมโห เพราะจะเป็นการยั่วยุให้สุนัข เริ่มตรงเข้าทำร้ายคุณ
              สุนัขที่ว่าง่ายและสุนัขบางสายพันธุ์ที่เห็นชัดๆ อย่างเช่น ลาบราดอร์ ซึ่งเป็นสุนัขที่ทำหน้าเหมือนยิ้ม เวลาอ้าปาก เราจะเห็นฟันใต้กระพุ้งปากยานๆเผยอๆของเค้า อันนี้ดูเป็นมิตรดี แต่ในยามที่เค้าโมโห ปากของสุนัขลาบราดอร์ จะหุบเข้า เผยให้เห็นฟันขาวแวววาวทุกซี่ ซึ่งคุณจะได้ยินเสียงเค้าขู่ตามมา สำหรับสุนัขที่แสดงอาการอยากจะเล่น อาจจะแสดงพฤติกรรม ด้วยการเหยียดอุ้งเท้าตุ้มน้อยๆออกมาหา หรือชวนคุณเล่นผ้า และเค้าก็จะชอบเห่าเพื่อดึงดูดความสนใจ ส่วนกิริยาท่าทางอื่นๆ ของสุนัขที่สามารถสังเกตได้ก็อย่างเช่นชวนคุณเล่นของเล่น หรือไล่งับเพื่อนๆของเค้าเพื่อชวนให้เล่นวิ่งไล่กัน

เราต้องเป็นเจ้านาย
              สุนัขเมื่อเข้าวัยหนุ่มสาวอายุได้ประมาณ 6 เดือน  สุนัขเริ่มเป็นตัวของตัวเอง ไม่ทำตามคำสั่งที่เราเคยสอนให้ปฏิบัติตามอย่างคำสั่ง เช่น นั่ง” , หมอบหรือ มานี่ในช่วงนี้ สุนัขจะทดสอบสามารถของเจ้านาย ถ้าอ่อนแอหรือเขาแข็งแรงและมีพละกำลังมากกว่า สุนัขจะคิดว่าเขาจะเป็นผู้นำ แทนเราได้หรือไม่ ดังนั้นคุณมีหน้าที่ที่จะต้องสอน และฝึกฝน วินัยให้เขาและทำให้เค้ารู้ให้ได้ว่าสถานะของเค้านั้นอยู่ตรงไหน และแม้ว่าเขาจะโตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่แล้ว คุณก็ควรจะฝึกวินัย ให้กับเขาเป็นระยะๆ และอย่าลืมว่าการชมเชยเป็นสิ่งสำคัญมากๆ(สุนัขทุกตัวชอบเหมือนกันหมด)
              เมื่อสุนัขแสดงความเป็นใหญ่เหมือนเป็นจ่าฝูง ให้คุณรีบกำจัดความอหังการของเค้าลงไปเช่นการที่ลูกสุนัขแสดงท่าทาง หวงกระดูก หรือของกินกับคุณ อย่าปล่อยให้เขาทำพฤติกรรมนี้กับคุณ หากปล่อยเนิ่นนานไปมันอาจจะสายเกินแก้  พฤติกรรมของเขาหรืออาจกลายเป็นอันตรายหากสุนัขของคุณ ตัวโตจนคุณไม่สามารถบังคับได้  วิธีแก้ไข เวลาที่เค้ากำลังกิน อาหารให้ดึงชามข้าวเค้าออกมาบ้าง สุนัขควรยินยอมคุณแต่โดยดี หากเค้าแยกเขี้ยวคำราม หรืออยากจะกัดเรา คุณต้องกำราบเขา

การเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก้าวร้าว
            ถ้าลูกสุนัขแสดงความก้าวร้าว เช่น หวงอาหาร หวงของเล่น ขู่เวลาจับอาบน้ำ วิธีการสอนให้สุนัขรู้ว่าคุณคือเจ้านาย ก็คือการจับเค้านอนตะแคงราบไปกับพื้นแล้วใช้มือกดคอเค้าไว้ (เหมือนแม่งับคอลูกเพื่อสั่งสอน) ให้คุณกดไว้อย่างนี้จนกระทั่งเค้ายอมจำนน และคลายอารมณ์ลง (ให้ทำอย่างนี้หลายนาทีโดยเฉพาะที่ เป็นครั้งแรก) คุณจึงปล่อยมือออกมา แล้วอย่าลืมว่าให้พูดเรียกชื่อเค้าอย่างนุ่มนวลล่ะระหว่างเวลาที่คุณกดมือลงไป วิธีการกำราบนี้ใช้ได้เฉพาะเวลาที่ลูกสุนัขของคุณประพฤติตนในทางที่ไม่ควรเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ที่เค้าแยกเขี้ยวยิงฟัน ใส่คุณเวลาที่คุณแต่งตัวให้เค้า ไม่ต้องกังวลว่าเขาจะเจ็บ เพราะวิธีการกำราบแบบนี้จะไม่ทำให้เค้าเจ็บ และนี่เป็นวิธเดียวกับที่สุนัขที่อยู่ในตำแหน่งที่เหนือกว่า แสดงออกและทำกับลูกฝูงตัวที่เด็กกว่าให้เจียมเนื้อเจียมตัว แต่อย่าลืมปล่อยมือออกจากคอเค้าก็แล้วกัน หากคุณเห็นว่าเค้ายอมคุณแล้ว แม้ว่าเค้าดิ้นตัวหนีคุณอย่างสุดกำลังก็ตาม
วิธีการแสดงว่าเราเหนือกว่า
              ให้เราบีบปากสุนัขด้วยมือย่างระมัดระวังแล้วปล่อยมือ ก็เป็นอีกวิธีในการแสดงความเหนือกว่าของคุณต่อสุนัข และเป็นการเสริมความน่าเกรงขามให้กับตำแหน่งหัวหน้าฝูงให้คุณได้ดี ทุกคนในครอบครัวควรเข้าใจตรงกันว่า สุนัขอยู่ในสถานะที่เป็นน้องเล็กที่สุดของบ้าน ไม่ใช่เจ้านายและควรปฏิบัติกับเขาอย่างนั้น  เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สุนัขของคุณแสดงความเหิมเกริมและอยากเป็นใหญ่ ไม่ควรให้อนุญาตให้สุนัขขึ้นมานั่งบน โซฟาหรือนอนบนเตียงโดยที่คุณไม่ได้อนุญาตอย่างเด็ดขาด
              ส่วนการที่เค้าเห็นขาใครต่อใครในครอบครัวคุณ เป็น สุนัขตัวเมียก็เกิดขึ้นได้บ่อย แต่ไม่ได้แสดงว่าสุนัขของคุณ เค้ามีพฤติกรรมทางเพศที่ผิดๆหรอก แต่สำหรับเขามันคือการแสดงความมีอำนาจเหนือกว่าต่างหาก แม้แต่สุนัขตัวเมีย ก็ตามหากทำอย่างนี้จะถือว่าเป็นการกระทำที่แสดงออกต่อสุนัขตัวที่มีตำแหน่งต่ำกว่า ดังนั้นคุณอย่าไปปล่อยให้พฤติกรรม แบบนี้เกิดขึ้นกับเค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากสุนัขแสดงพฤติกรรมแบบนี้กับลูกๆของคุณ ให้พูดกับเค้าเสียงแข็งๆว่า ไม่!แต่หากยังเกิดพฤติกรรมแบบนี้ขึ้นอีก ก็ให้แสดงความเป็นเจ้านายหรือหัวหน้าฝูงของเค้าด้วยการจับเค้านอนตะแคง แล้วกดคอเค้าไว้ด้วยมืออย่างที่กล่าวมาข้างต้น
              คุณควรจะเริ่มวิธีการนี้เสียตั้งแต่แรกๆ สามารถเริ่มได้ทันทีที่เค้าเข้ามาอยู่ในบ้านคุณใหม่ๆ และเริ่มคุ้นเคยแล้ว เพื่อที่ลูกสุนัขเล็กๆที่น่ารักของคุณได้เติบโตขึ้นมา เป็นสุนัขที่มีเสน่ห์และนิสัยดีในอนาคต
              และแน่นอนว่าการแก้ไขความประพฤติที่ไม่ถูกต้องที่เค้าทำจนเคยชินแล้ว จะยากกว่าการสอนเค้าตั้งแต่ต้น เป็นไหนๆ สุนัขตัวที่ไม่ได้รับการสอนจากคุณมาตั้งแต่ต้นนั้นจะเป็นปัญหาแน่เมื่อเค้าอายุได้สักปีหรือสองปี ท้ายที่สุด พวกเค้าจะต้องลงเอยในสถานสงเคราะห์สัตว์หรือที่แย่กว่านั้น อาจต้องโดนกำจัดทิ้ง ถ้าเขากลายมาเป็นสุนัขที่จ้องจะ เข้าคุกคามและเป็นอันตรายต่อคน อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากคุณได้เริ่มฝึกฝนเค้าอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เค้ายังเล็กๆ
              วิธีแบบโบราณที่จะให้สุนัขเชื่อฟังก็คือการเฆี่ยนตี แต่โชคดีที่การทารุณสัตว์แบบนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว คุณทราบไหมว่า สุนัขที่ถูกตีนั้นจะอยู่อย่างเป็นทุกข์และจะสามารถกัดหรือทำร้ายคนได้เมื่อเค้ารู้สึกกลัว พวกเค้าจะไม่มีความมั่นใจในมนุษย์ ดังนั้นสิ่งที่คุณควรกระทำต่อสุนัขของคุณนั้นก็คือการให้ความสนใจเค้า ชมเชยเค้า และรักเค้าอยู่เสมอ
              อย่าลืมว่าไม่เพียงสุนัขเท่านั้นที่ต้องเรียนรู้ ตัวคุณเองก็ต้องเรียนรู้เช่นกันว่าคุณควรต้องทำอะไร เพื่อให้สุนัขเข้าใจว่า เขาต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงเป็นการเหมาะสม

การเห่าของสุนัข
          1. เห่าเพื่อเป็นการเตือน การเห่าแบบนี้อาจจะเป็นที่ต้องการกับเจ้าของบางคนเพราะเป็นการเห่าเมื่อเจอคนแปลกหน้าหรือผู้บุกรุกเข้ามาในอาณาเขตของเค้า
          2. เห่าเพื่อเรียกร้องความสนใจ ส่วนใหญ่จะพบในลูกสุนัขเพื่อจะทำให้เราสนใจ แต่เราควรจะทำตรงข้ามกันคืออย่าสนใจ
           3. เห่าเพราะตื่นเต้นหรือเล่น เสียงเห่าลักษณะนี้จะสั้นและแหลม
          4. เห่าเพื่อแสดงตัว เหมือนกับเป็นการเห่าตอบสุนัขตัวอื่นๆ คล้ายๆจะบอกว่า "ฉันอยู่ที่นี่ไง"
          5. เห่าเพราะเบื่อ หรือเพื่อเป็นการปลดปล่อยพลังงาน สุนัขหลายพันธุ์ต้องการการออกกำลังกาย ไม่งั้นจะอึดอัดและหาทางออกโดยการเห่าหรือทำนิสัยเสียอย่างอื่นแทน เช่น ขุดดิน กัดแทะ เป็นต้น
           6. เห่าเพราะเหงาหรือรู้สึกกังวลใจ น้องหมาบางตัวติดเจ้าของมากหรืออาจมีการเปลี่ยนที่อยู่หรือสิ่งแวดล้อมใหม่จะเกิดความรู้สึกกังวลใจขึ้น
           7. เห่าเพราะตกใจ อาจเกิดจากการได้ยินเสียงแปลกๆ หรือเจออะไรที่ไม่คุ้นเคยอย่างหมาเห่าใบตองแห้ง นิสัยนี้เราควรจะต้องรีบแก้โดยเร็ว
การฝึกนิสัยการเห่าของสุนัข
สุนัขที่เห่าเวลามีคนมาส่งจดหมาย คนวิ่งผ่านหน้าบ้าน หรือเด็กขี่จักรยานผ่าน พวกมันจะมีความคิดว่าตัวเองนี่เก่งจริงๆ เพราะสามารถเห่าจนคนเหล่านี้ผ่านไปและนี่คือปัญหาเพราะมันจะถูกพัฒนาจนกลายเป็นนิสัย เราอาจจะแก้ไขโดยการป้องกันไม่ให้สุนัขเห็นคนภายนอกแต่นั้นไม่ใช่วิธีแก้ไขทั้งหมด
สิ่งแรกเราต้องไม่ให้รางวัลกับสุนัขที่กำลังเห่าไม่ว่ากรณีใดๆ เช่นเห่าเพื่อขอของกินถ้าเราให้สุนัขก็จะเห่าทุกครั้งเพื่อขอของกิน เราต้องหาสัณญาณที่จะทำให้เค้ารู้ว่าควรจะหยุดได้แล้ว เช่นคำว่า "พอแล้ว" การฝึกทำโดยเมื่อสุนัขเริ่มเห่าได้ครั้งสองครั้งให้เราดึงความสนใจของสุนัขมาที่เราโดยเคาะประตู(ถ้าอยู่ที่ประตู)เมื่อสุนัขหยุดเห่าให้พูดคำว่า "พอแล้ว" และให้รางวัลกับเค้าเช่นขนมหรือคำชมต่างๆ ถ้ายังไม่หยุดเห่าเอาขนมไปให้ดมใกล้ๆจมูกเมื่อเค้าหยุดให้พูดคำว่า "พอแล้ว" รออีกสักพักถ้ายังเงียบอยู่ก็ให้กินขนมหรือให้คำชมอีกครั้ง ย้ำคุณต้องมั่นใจว่าเค้าหยุดเห่าจริงๆถึงค่อยให้  ใช้น้ำเสียงเรียบๆอย่าตะโกนเพราะถ้าคุณตะโกนเค้าจะคิดว่าคุณร่วมเชียร์ด้วย
          การออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี สุนัขที่ได้รับการออกกำลังกายอย่างพอเหมาะมักจะไม่เห่า เพราะไม่เบื่อ หรือกระวนกระวายที่แน่ๆคือเหนื่อย ควรระลึกไว้เสมอว่าการฝึกทุกชนิดต้องใช้เวลาจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับคุณและความอดทนของคุณ หลีกเลี่ยงการทำโทษทางร่างกายเพราะนั่นจะทำให้เค้ากลัวคุณมากกว่าการเปลี่ยนนิสัย แต่ว่ามีสนัขบางชนิด